Time to Say Goodbye

สวัสดีจ้ะพสกนิกร

อา ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง

วันที่เจ้าหงิงจะเดินทางไปสู่ดาวดวงใหม่

ดวงดาวแห่งความเป็นอมตะรอคอยข้าพเจ้าอยู่

เจ้าหงิงคงจะคิดถึงพสกนิกรทุกท่าน

จจเคยบอกไว้ในบล็อกรู้จักกันก่อนแม่ว่าจจมาเพื่อศึกษาการแปลและภาษาศาสตร์เปรียบต่าง (Contrastive Linguistics) และบอกไว้ในบล็อกบันทึกครั้งที่ 1 ฉันมาทำอะไรที่นี่กันหนอว่าจจมาเพื่อพัฒนาภาษาญี่ปุ่น

จจคิดว่า จจได้บรรลุเป้าประสงค์ทั้งหมดแบบสุดปัง

ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จจเขียนไปทั้งหมด 19 บล็อก (รวมบล็อกนี้) โดยแบ่งประเภทได้เป็น

ลำดับหมวดหมู่จำนวน
1)おはじめ2
2)Pre วิเคราะห์เพลงแปล: เพลงดิสนีย์1
3)วิเคราะห์เพลงแปล: เพลงดิสนีย์12
4)Breaking Post: ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์3
5)お別れ1
 รวม 19

ส่วนที่เป็นนางเอกของโปรเจคเรา ก็คือวิเคราะห์เพลงแปล: เพลงดิสนีย์ นั่นเอง โดยจจได้เขียนไป 12 เพลง ดังต่อไปนี้

ลำดับเพลงเรื่องบล็อก
1) Someday My Prince Will Come (1937)Snow Whiteโสนน้อยเรือนงาม  
2)Once Upon A Dream (1959)Sleeping Beautyตื่นเถิดชาวไทยอย่ามัวหลับไหลลุ่มหลง  
3)Part Of Your World (1989)The Little Mermaidสงสารแต่แม่ปลาบู่  
4)Beauty And The Beast (1991)Beauty and the Beastดอกฟ้ากับหมาวัด  
5)A Whole New World (1992)Aladdinโลกคือละครทุกคนต้องแสดงทุกคนทำไป  
6)Colors Of The Wind (1995)Pocahontasลมมมมพัดตึ้ง!ตึ้งๆๆๆๆๆๆๆๆ!  
7)I Won’t Say I’m In Love (1997)Herculesอย่าหาทำ  
8)Reflection (1998)Mulanเหงา นี่แหละเหงา นี่คือความจริงที่ได้เจอ  
9)Happy Working Song (2007)Enchantedงาน งาน แปดโมงเช้าได้เวลาเริ่มงาน งาน  
10)Let It Go (2013)Frozenปล่อยให้ตัวฉันไป  
11)How Far I’ll Go (2016)Moanaฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน  
12)Into The Unknown (2019)Frozen IIพิมก็ไม่รู้ พิมก็ไม่รู้  

โดยจจได้เขียนเกี่ยวกับความรู้ด้านภาษาศาสตร์ญี่ปุ่นประยุกต์ไปทั้งหมด 38 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1)การแปล (20 ประเด็น)

1)นิยามการแปล
2)การแปลเพลง
3)เทคนิคการแปล
3.1)การแทนวัฒนธรรม
3.2)การหาคำเทียบเคียง
3.3)ระดับของการแปล
3.4)การสลับจัดวางอย่างสร้างสรรค์
3.5)บริบท: บริบทที่อยู่นอกเหนือตัวภาษา
3.6)การแปลความหมายกว้างเป็นความหมายแคบ
3.7)การแปลความหมายแคบเป็นความหมายกว้าง
3.8)การแปลความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง
3.9)การแปลจากสำนวนเป็นภาษาธรรมดา
3.10)การแปลสรรพนาม
3.11)การแปลเป็นความหมายทุติยภูมิ
3.12)การจัดจำพวก
3.13)การละไว้ไม่แปล
3.14)การแปลเป็นความหมายควบ
3.15)การแปลข้อความเชิงเปรียบ: บุคลาธิษฐาน
3.16)การแปลแบบหาคำมาเทียบเคียง
3.17)การแปลคำแสดงอารมณ์
3.18)การขยายความ

2)ภาษาศาสตร์เปรียบต่าง (13 ประเด็น)

1)การใช้คำแสดงความเป็นเจ้าของ
2)การทำคำให้ไพเราะ
3)การละประธาน
4)คำบ่งชี้
5)คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ VS「ネ」
6)การณ์ลักษณะแสดงการดำเนินไปข้างหน้า (テイク)
7)เหตุกรรตุวาจก
8)คำบุพบท VS คำช่วยแสดงการก
9)การณ์ลักษณะแสดงความต่อเนื่อง (Progressive Aspect)
10)ประโยคคำสั่ง
11)คำกริยาประสม
12)กาล
13)การณ์ลักษณะแสดงการเสร็จสมบูรณ์

3)ภาษาศาสตร์สังคม (2 ประเด็น)

1)ภาษาผู้หญิง
2)ภาษาถิ่นศึกษา

4)อื่นๆ (3 ประเด็น)

1)การพูดคนเดียว
2)การพูดอย่างชาญฉลาด: การพูดอย่างกำกวม
3)ทฤษฎีผลงาน: ช่องว่าง (Output Theory: Gap)

ทีนี้ ถ้าให้จจเลือกเพลงที่ชอบที่สุด in terms of ความชอบส่วนตัว เพลงนั้นได้แก่กกกกกกกก

I Won’t Say I’m In Love จากเรื่อง Hercules จ้าแม่จ๋าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ทีนี้ ถ้าเลือกเพลงที่ชอบที่สุด in terms of ความปังในการแปล เพลงนั้นได้แก่กกกกกกกก

Part Of Your World จากเรื่อง The Little Mermaid จ้าแม่มมมมมมมมมมมมมม

แล้วสำหรับพสกนิกรทุกท่านล่ะ พสกนิกรชอบเพลงไหนมากที่สุด หรือว่าชอบประเด็นทางภาษาศาสตร์เรื่องไหนที่จจเขียนมากที่สุด???

อย่างไรก็ดี แม้เราจะต้องจากกันไป ขอให้เรายังคงระลึกถึงกัน

ก่อนจากไป จจยกเพลงนี้ เป็นเพลงสุดท้ายให้ก่อนการจากลาในบทเพลง Think Of Me จากละครเพลงเรื่อง Phantom of the Opera

เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

เวอร์ชั่นภาษาไทย

เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่น

ขอให้พสกนิกรทุกท่านโชคดี

เราจะได้เจอกันอีก

พิมก็ไม่รู้ พิมก็ไม่รู้

สวัสดีจ้ะพสกนิกร

อา เวลานี้ข้าน้อยก็อพยพมาประทับที่ตำหนักหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว

ยามค่ำคืน ข้าน้อยก็จะได้ยินเสียงเพรียกปริศนา

ชั่ย! วันนี้เราจะมาในเพลง Into The Unknown จากเรื่อง Frozen II จ้าพี่สาวววววววววววววว

หมอไหนจ้ะบอกที

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นอังกฤษ >>> https://youtu.be/gIOyB9ZXn8s

เวอร์ชั่นไทย >>> https://youtu.be/0YAlHbMcP5Y

เวอร์ชั่นญี่ปุ่น >>> https://youtu.be/k_Pc05U133k

I can hear you
but I won’t
Some look for trouble
while others don’t
There’s a thousand reasons
I should go about my day
And ignore your whispers
which I wish would go away
You’re not a voice
you’re just a ringing in my ear
And if I heard you
which I don’t
I’m spoken for I fear
Everyone I’ve ever loved is here within these walls
I’m sorry, secret siren but I’m blocking out your calls

I’ve had my adventure
I don’t need something new
I’m afraid of what I’m risking if I follow you
Into the unknown
Into the unknown
Into the unknown

What do you want?
‘Cause you’ve been keeping me awake
Are you here to distract me
so I make a big mistake?
Or are you someone out there
who’s a little bit like me?
Who knows deep down
I’m not where I’m meant to be?  
Every day’s a little harder
as I feel my power grow
Don’t you know there’s part of me
that longs to go?
Into the unknown
Into the unknown
Into the unknown

Are you out there?
Do you know me?
Can you feel me?
Can you show me?

Where are you going?
Don’t leave me alone
How do I follow you
into the unknown?
ได้ยินเสียงเธอ
แต่ไม่ฟัง
ฉันไม่อยากวุ่นวาย
พอได้รึยัง
มีเหตุผลตั้งร้อยพัน
ให้ตั้งมั่นกับชีวิตใหม่
จะไม่สนเสียงเรียกนั้น
หวังว่ามันจะหยุดกวนใจ

เธอไม่มีอยู่
แค่ดังในหูเราเพียงเท่านี้
แม้ได้ยินเสียงจริง
ซึ่งไม่ใช่
ก็คงไม่ว่างโทษที
คนรอบตัวที่เรารักมั่น
ต่างรวมอยู่กันพร้อมหน้า
เจ้าเสียงเรียกชวนหยุดกวนชักที
จากนี้อย่าติดต่อมา

พอแล้วการผจญภัย
ให้รับอีกก็ไม่ไหว
จะยังไม่กล้า มันจะเสี่ยงไหม
ถ้าจะตามเข้าไปใน
ดินแดนที่ไม่รู้
ดินแดนที่ไม่รู้
ดินแดนที่ไม่รู้

เธอมีอะไร
มันนอนไม่ได้
มันทนไม่ไหว
ทำอย่างนี้
คิดจะแกล้งกัน
เพื่อให้ฉันพลาดพลั้งหรือไง
หรือว่านี่เธอก็คล้ายกัน
และเข้าใจตัวฉันได้ดี
ไม่มีที่ใด
ที่คู่ควรกับฉันสักที

ยากหนักหนาผ่านมาแต่ละวัน
พลังฉันเติบโตร่ำร้อง
เหมือนในใจส่วนลึก
ก็แอบใฝ่ฝันได้ท่อง  
ดินแดนที่ไม่รู้
ดินแดนที่ไม่รู้
ดินแดนที่ไม่รู้

ถ้าเธอมีอยู่
ขอให้รู้ใจ
ว่าเป็นเช่นไร
เดินไปสักที  
เธอจะไปไหนนั่นให้ฉันติดตามเธอ
ช่วยบอกให้ทางให้ได้เจอ ดินแดนที่ไม่รู้
聞こえてる
でも無駄よ
目を覚ませ
起きろと
どこかで呼ぶ
謎めいた声
無視をすれば
消えてゆくのか?
 
どうかしてるわ
空耳よ、きっと
騙されるはずがない
聞く気はないわ    
愛する人たちはここにいるの
危険を冒すこと
二度としないわ

冒険にはもう
うんざりしてる
それでもあの声は求めてる    
未知の旅へ
踏み出せと
未知の旅へ

どうして
呼び統けてるの?
あなたは私に
似た誰かなの?
本当はここにいてはいけないと
見つけに来いというのね

みんなと違うと 感じてきたの
だから心が望の      
道の旅へ
踏み出せと
未知の旅へ

あなたは 
どこなの
姿を
見せてよ

どこへゆくの
ついてゆく
道の旅へ
踏み出そう

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

ฟังเผินๆก็สวยดีจ้ะ

ใช่ ฟังเผินๆ

แต่ถ้าฟังตั้งใจขึ้นมาหน่อย ก็จะมีความแบบ อิหยังจ้ะ???//หน้ายิ้ม

มันนมเนยงะ แง ไม่ชอบเลอ

วัยรุ่นเซ็ง

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

โอ จจชอบนะ

คือถ้าถามว่า มันคือ California Roll (ภาษาญี่ปุ่นที่นมเนย) ไหม ไม่รู้ ไม่ใช่คนญป ประเมินไม่ได้ แต่มันก็เพลินๆอยู่น้า ได้อยู่

.

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

การขยายความ (Amplification; Expansion)

มันคืออะไร

มันคือเทคนิคที่ว่า สมมติคุณแปลอะไรสักอย่างที่ต้นฉบับมันอาจจะคลุมเครือ หรืบางทีก็ไม่คลุมเครือ แต่มันอาจจะเข้าใจแค่ในบริบทของภาษาต้นทาง พอคุณจะแปลมันมา ก็เติมคำอธิบายประกอบลงไปนิ๊ดดดดดดนึง ให้เข้าใจมากขึ้น เงี้ยอะจ้ะ

ปกติเทคนิคนี้จะใช้กับแบบ อะไรที่เป็นความต่างทางวัฒนธรรม

เช่น ฝรั่งพูดว่า ice-hockey ฝรั่งก็เข้าใจใช่ไหมว่ามันคือกีฬา

แต่คนไทยไม่เก็ทไง ดังนั้นเวลาแปลเป็นไทยก็อาจควรแปลว่า

Ice-hockey >>> กีฬาไอซ์ฮอกกี้

ไรเงี้ยจ้ะ

ในเพลงนี้ ก็คือตรงนี้

I’m afraid of what I’m risking if I follow you into the unknownจะยังไม่กล้า มันจะเสี่ยงไหม
ถ้าจะตามเข้าไปในดินแดนที่ไม่รู้
それでもあの声は求めてる
未知のへ踏み出せと

คือต้นฉบับเขาไม่ได้บอกชัดๆว่า อะไรที่ไม่รู้

ภาษาไทยก็เลยบอกว่า “ดินแดน” ที่ไม่รู้

ญปบอกว่า “การเดินทาง” ที่ไม่รู้ (未知の旅)

เงี้ยจ้ะ

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

Perfective/Imperfective Aspect & Tense

กรณีศึกษา “I’ve had” “พอแล้ว” 「ている」

อะ มันก็เริ่มจากที่จจไปเห็นจุดนี้ของเพลง

I‘ve had my adventureพอแล้วการผจญภัย冒険にはもううんざりしてる

คือจจเนี่ย ก็เรียนภาษาอังกฤษมาบ้าง ก็พอจิรู้ว่า “I’ve had” เป็น Present Perfect Tense

เราก็อยากรู้เกี่ยวกับ Tense เพิ่มเติมไง เลยไปค้น

ก็จะมีคุณอิงอร (2516) ที่อธิบายว่า กาล (Tense) คือ ระเบียบของกริยาที่แสดงความหมายบ่งเวลาของเหตุการณ์

อะ ดูไม่ยาก

ทีนี้เนี่ย ประเด็นคือถ้าจะเข้าใจเรื่อง Tense เนี่ย จะขาดเพื่อนรักนางไม่ได้ Aspect

ซึ่งเคยเขียนแล้วในบล็อกดอกฟ้ากับหมาวัด และบล็อกอย่าหาทำ

อะ เพื่อให้เข้าสู่เนื้อหาที่ลึกกว่านี้ได้ เราไปเจาะทีละภาษากันเลย

4.1)ภาษาอังกฤษ

I‘ve had my adventure

4.1.1) Tense

ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้ Present Perfect Tense อย่างที่บอก

แล้วมันคือไร

คือคุณ British Council (n.d.) ก็จะบอกเราว่ามีวิธีการใช้ดังนี้

การใช้ประโยคตัวอย่าง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินมาจนถึงปัจจุบันThey‘ve been married for nearly 50 years.
ประสบการณ์ที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันI‘ve seen that film before.
สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ส่งผลกระทบถึงปัจจุบัน/มีความสำคัญในปัจจุบันI can’t get in the house. I‘ve lost my keys.

คุณ Comrie 1976 (อ้างอิงใน Borik, 2018) จะบอกว่า Perfect Tense หมายถึง เหตุการณ์ในอดีตที่มีความสำคัญในปัจจุบัน เช่น เป็นผลลัพธ์จากเหตุการณ์ในอดีต

คุณ Isarankura (2011) ก็จะอธิบายเสริมด้วยว่านางจะใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เริ่มต้นก่อน “จุดเวลาที่ผู้พูดพูด” (Speech Time) และดำเนินมากระทั่งถึง “เวลาที่ refer to” (Reference Time)

อะ ดูภาพจากคุณ Reichenbach (1947) (อ้างอิงใน 都築, 2014) เพื่อความขนลุก คือ E = Event, S = Speech Time, R = Reference Time

4.1.2) Aspect

ทีนี้ มันจะมีคำคล้ายๆกัน Perfective Aspect และ Imperfective Aspect

คุณ Comrie 1976 (อ้างอิงใน Borik, 2018) ก็จะอธิบายไว้ดังนี้

Perfective Aspect ≠ Imperfective

Perfective Aspect = การมองสถานการณ์แบบองค์รวมโดยไม่ได้สนใจหน่วยประกอบทางเวลาภายใน (A situation viewed in its entirety, without regard to internal temporal constituency)

คือ มองแบบรวมๆ ไม่ได้มีความต่อเนื่อง มีความจบครบสมบูรณ์ในตัว

ง่ายๆก็คือ “I’ve had my adventure” ในเพลงนี้เป็น Present Perfect Tense, Perfective Aspect นะจ้ะ

คือถ้าจะให้มันเป็น Imperfective Aspect มันจะต้องเป็น “I’ve been having…” อะจ้ะ ซึ่งเกี่ยวกับตรงนี้ เดี๋ยวจะอธิบายเพิ่มทีหลังนะ ตอนนี้เข้าใจแค่นี้ก่อน

4.2)ภาษาไทย

พอแล้วการผจญภัย

4.2.1) กาล

อะ มันคือ Tense อะไร

คือถ้าอ่านงานของคุณอิงอร (2516) เนี่ย มันคือ อดีตกาล

แต่คุณอิงอรบอกว่า มันคือ อดีตกาลที่ “ไม่มีกาลลักษณะ”

4.2.2) การณ์ลักษณะ

แต่คุณผู้ชม คุณมิ่งมิตร (2546) บอกกับเราว่า “แล้ว” ในภาษาไทย “บอกการณ์ลักษณะของความหมายว่าเสร็จสิ้น”

ว้าย เขาเถียงกัน

เอาเป็นว่า จจเชื่อคุณอิงอรว่า มันคืออดีตกาล แต่ไม่เชื่อที่ว่าไม่มี Aspect ขอเชื่อคุณมิ่งมิตรแทน

ซึ่งคุณมิ่งมิตรเนี่ย เขาศึกษาประวัติศาตร์ของคำว่า “แล้ว” เอาไว้ ซึ่งได้ผลการวิจัยว่า แล้ว เป็นคำช่วยหลังกริยา

ที่บอกการณ์ลักษณะสมบูรณ์ จ้ะ

ก็จะประมาณนี้

4.3)ภาษาญี่ปุ่น

冒険にはもううんざりしてる

4.3.1) テンス

คือคุณอัษฎายุทธ (ม.ป.ป.) และคุณ 都築 (2014) บอกว่าญปมีกาล 2 กาลคือ 過去形 และ 非過去形

ถ้าให้ละเอียดคือคุณ 都築 (2014) ก็จะบอกไว้ว่า มันจะดูที่ว่า กริยานั่นเติม「タ」หรือเปล่า

ซึ่งของเราก็เป็นประเภท 非過去形 เนาะ

4.3.2) アスペクト

ในส่วนของ Aspect เนี่ยคือเจ้า「テイ」

ซึ่งคุณ 都築 (2014) บอกว่ามันจะมีได้ 2 กลุ่มคือ

1) ไม่มี テイPerfective (完結相、非状態) 
2) มี テイImperfective (非完結相、状態、継続相)

อะ ไม่งง จะงงมาก

ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่า

Perfective Aspect ≠ Imperfective

Perfective Aspect = การมองสถานการณ์แบบองค์รวมโดยไม่ได้สนใจหน่วยประกอบทางเวลาภายใน (A situation viewed in its entirety, without regard to internal temporal constituency) (Comrie 1976 อ้างอิงใน Borik, 2018)

นั่นแปลว่า

Perfective (ไม่มี テイ) = ภายนอก (External)
Imperfective (มี テイ) = ภายใน (Internal)

อะเก เก็ท

แต่ว่า คือไร55555555555555555555555

คุณ 都築 (2014) ก็จะอธิบายถึง「テイ」 ว่ามันเป็น “ปัญหาเรื่องของมุมมอง” (視点の問題) ก็คือ「出来事を外側から眺めるか内側から眺めるか」(มองเหตุการณ์นั่นจากภายในหรือภายนอกจ้ะพี่สาว)

ก็ไปดูตัวอย่างของคุณเขาแบบสุดปัง

太郎が酒を飲んでいる時、電話が鳴った

คือ มันจะมีความหมายว่า “โทรศัพท์ดัง” เป็นเหตุการณ์ที่ “แทรกขึ้นมาตรงกลาง” ของเหตุการณ์ “ทะโรร่ำสุรา” เงี้ยอะจ้ะ

ทีนี้ พสกนิกรก็อาจจะเกือบคล้อยตามจจว่า อ๋ออออออ 「テイ」ใน「うんざりしている」มันคือ เหตุการณ์ภายใน???

เปล่า ไม่ใช่ ชั้นแค่ยกมาพูดให้พวกเธองงเร่นๆ

55555555555555555555555555555555555555555555555555555555

คือจริงๆแล้วเนี่ย มันน่าจะเป็นอันนี้มากกว่า

คุณ 都築 (2014) ก็จะอธิบายถึง「テイ」ว่านอกจากจะเป็นปัญหาเรื่องของมุมมองยังเป็นเรื่อง “ปัญหาเรื่องการจำกัด” (有界性の問題) อีกด้วย ก็คือ「出来事の始まりを終わりを問題にするかどうか」(โฟกัสที่จุดเริ่มต้น/จุดจบของเหตุการณ์)

อะ ดูตัวอย่างของคุณเขาเพื่อความปัง

a. ??太郎は昨晩酒を飲んだ。まだ飲んでいるかもしれない。

b. 太郎は昨晩酒を飲んでいた。まだ飲んでいるかもしれない。

คือเนื่องจากว่า a. เนี่ย ไม่ได้ใช้「テイ」จึงมีความ “ปิด” (Close) มันจึงมี “ขอบเขต” (Bounded) จึงไม่สามารถพูดได้ว่า “ตอนนี้ก็อาจจะยังร่ำสุราอยู่”

แต่เจ้า b. เนี่ย มันเปิด (Open) และไม่มีขอบเขต (Unbounded) จึงสามารถพูดได้ว่า “ตอนนี้ก็อาจจะยังร่ำสุราอยู่”

ซึ่งถ้าเราเอา テンス และ アスペクト มารวมกันก็จะได้อะไรประมาณนี้

ก็คือ มันไม่ได้เป็นอดีต (非過去形) และน่าจะเป็นปัจจุบัน (現在) ในส่วนของ アスペクト ก็เป็น Imperfective (非完結相) ที่มีความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ไม่ได้มีความปิด/มีขอบเขตเหมือนกับ Perfective (完結相) นะจ้ะ

เมื่อเอาเวอร์ชั่น 3 ภาษามายุทธหัตถีกัน ก็จะได้ตามนี้

I’ve had my adventureพอแล้วการผจญภัยうんざりしてる
 TenseAspect
ภาษาอังกฤษPresent PerfectPerfective
ภาษาไทยอดีตกาลPerfective
ภาษาญี่ปุ่น非過去形(現在)Imperfective

คือก็จะเห็นว่ากาลเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง การณ์ลักษณะเหมือนบ้างไม่เหมือนบ้าง คือจจมองว่า คนแปลเขาเลือกสรรไวยากรณ์ที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในภาษาตัวเองกับบริบทเพลงมาอะนะถึงได้เป็นแบบนี้

ซึ่งพสกนิกรทั้งหลายในฐานะผู้เรียนภาษา ก็รับชมกรณีศึกษาเหล่านี้เอาไว้ และทำความเข้าใจเรื่องของกาล/การณ์ลักษณะต่างๆ ที่อาจจะดูซับซ้อน แต่มีความสำคัญมากเพราะเพียงแค่การเติม「テイ」หรือไม่เติมเนี่ย ก็ส่งผลต่อนัยยะ (ニュアンス) ของประโยคได้แล้วจ้ะ

.

5)สรุป

เพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงหนึ่งที่แปลได้โอเค ภาษาไทยก็ขัดใจบ้างแต่พอรับได้ ภาษาญี่ปุ่นก็น่ารักกรุบกริบ ได้เรียนรู้เทคนิคการแปลเรื่อง Amplification/Expansion ไป ในส่วนของไวยากรณ์เรียนเรื่อง Tense/Perfective・Imperfective Aspect อาจยากหน่อยแต่มีความสำคัญม้ากมากเลยจ้ะ

ก่อนจากกัน ต้องขายของ

คืออย่างที่เคยประกาศไปในบล็อกโสนน้อยเรือนงาม ว่าวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 (ประมาณ 3 เดือนก่อน) จะมีการแสดงเพลง Into The Unknown ที่งานประกาศรางวัลออสการ์ สำหรับท่านที่พลาดไปก็เชิญชมวิดีโอแทนจ้ะ

และมีอีกเวอร์ชั่นนึงที่เพราะมากร้องโดย Panic! ลองฟังดูจ้ะ

สำหรับวันนี้ก็ลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

เอกสารภาษาไทย

มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2546). การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล: ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัษฎายุทธ ชูศรี. (ม.ป.ป.). แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2516). กาลในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสารภาษาอังกฤษ

Borik, O. (2018). When (im)perfective is perfect (and when it is not). Catalan Journal of Linguistics, 17, 19-42.

Isarankura, S. (2011). Conceptualizations of Tense and Aspect in English among Thai Learners. Retrieved from http://libdoc.dpu.ac.th/research/142406.pdf

Perfect aspect. (n.d.). Retrieved May 13, 2020, from British Council website, https://learnenglish.britishcouncil.org/english-grammar-reference/perfect-aspect

เอกสารภาษาญี่ปุ่น

都築鉄平「日本語における「タ」と「テイル」の対立――意味論・語用論からの考察――」2014年1月。

ฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน

สวัสดีจ้ะพสกนิกร

อา หน้าร้อนแบบนี้ ถ้าไปเที่ยวทะเลได้ก็คงดีสินะ

ใช่แล้ว ข้าพเจ้ากำลังอยากไปเที่ยวทะเล

งั้นก็ไปสิ!!!

เชิญพบกับเพลง How Far I’ll Go จากเรื่อง Moana จ้าแม่จ๋าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

สอนวิธีเขียนคิ้วทีจ้ะ

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

4)ภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นอังกฤษ >>> https://youtu.be/cPAbx5kgCJo

เวอร์ชั่นไทย >>> https://youtu.be/16hEiUnZEVM

เวอร์ชั่นญี่ปุ่น >>> https://youtu.be/Ey9BdkAT8Sw

I’ve been staring at the edge of the water long as I can remember never really knowing why
I wish I could be the perfect daughter
But I come back to the water
no matter how hard I try

Every turn I take
Every trail I track
Every path I make
Every road leads back
To the place I know where I cannot go where I long to be

See the line where the sky meets the sea? It calls me
And no one knows how far it goes
If the wind in my sail on the sea stays behind me
one day I’ll know
if I go there’s just no telling how far I’ll go

I know everybody on this island seems so happy on this island
Everything is by design
I know everybody on this island has a role on this island
So maybe I can roll with mine

I can lead with pride
I can make us strong
I’ll be satisfied if I play along
But the voice inside sings a different song
what is wrong with me?

See the light as it shines on the sea?
It’s blinding
But no one knows how deep it goes
And it seems like it’s calling out to me so come find me
And let me know
what’s beyond that line?
will I cross that line?

See the line where the sky meets the sea? It calls me
And no one knows how far it goes
If the wind in my sail on the sea stays behind me
One day I’ll know
how far I’ll go
เฝ้าแต่มองที่เส้นขอบน้ำจนสุดโพ้นฝั่ง
ทำอย่างนี้ตั้งแต่จำความ
แม้ไม่รู้เลยว่าทำไม
ถึงอยากเป็นลูกสาวที่ดีและเชื่อฟัง
ใจก็ยังพามาที่สายน้ำ
จะพยายามห้ามเพียงใด

ทุกเส้นทางที่ค้น
ทุกแห่งหนที่หา
จะก้าวเดินดั้นด้น
ทุกถนนวนมา
ที่ที่ใจฝันเพ้อ
เฝ้าแต่คอยชะเง้อปรารถนาได้ไป
 
มองดูเส้นที่ขอบฟ้าจรดแผ่นน้ำ
มันเรียกเรา
และจะต้องไปอีกไกลเท่าไร
แค่เพียงลมที่มันโหมบนแผ่นน้ำยังคอยช่วยเรา
ก็คงเข้าใจ
สุดจะคาดและเดาว่าเราต้องไปไกลเพียงใด
     
ก็รู้ใครต่อใครอาศัยอยู่ทั่วเกาะ
แสนสุขสันต์ด้วยกันอย่างที่เห็น
ทุกๆ เรื่องราบรื่นดังใจ
รู้ดีทุกคนล้วนแต่มีสิ่งที่เหมาะสมอย่างที่แต่ละคนเป็น
และฉันก็มีหน้าที่ทำไป

เป็นผู้นำพี่น้อง
ไปสู่ความดีงาม
คงจะสุขใจปอง
เพียงแค่เราทำตาม
ทั้งที่ใจเรียกร้อง
ได้แต่คอยเฝ้าถาม
ก็ไม่รู้ทำไม

มองดูแสงที่สะท้อนบนแผ่นน้ำ
ช่างวาบตา
จะส่องแสงไปได้ลึกเท่าไร
และดูเหมือนมันจะเรียกให้ไปตาม
ก็จงรีบมา
ฉันเข้าใจ
ถ้าหากข้ามเลยไปจะได้พบอะไร

เมื่อเส้นที่ขอบฟ้าจรดแผ่นน้ำ
มันเรียกเรา
และจะต้องไปอีกไกลเท่าไร
แค่เพียงลมที่มันโหมบนแผ่นน้ำยังคอยช่วยเรา
ก็คงเข้าใจว่าห่างเพียงใด
打ち寄せる波をずっと
一人見つめてた
何も知らずに
そうよ期特に応えたい
でも気付けばいつも
海に来てるの        
どの道を進んでも
辿り着くとこは同じ
許されないの?
憧れの遠い海
       
空と海が出会うところは
どれほど遠いの?
追い風受け、漕ぎ出せばきっと
分かるの
どこまで遠く行けるのかな
         
そうね、 みんなとっても幸せそうだわ
それは分かるの
そうよ
自分の居場所があるのって本当
素敵なことよね

この道を進んでく
望まれることは同じ
でも心に響くのは違う歌
         
光り、輝く海が私を呼んでる
おいでよと
早く見つけて欲しいと呼んでる
教えてよ
そこには何が待ってるの                

空と海が出会うところは
どれほど遠いの?
追い風受け、濃ぎ出してきっと
私は行くのよ

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

อืมมมม คือมันก็ดีนะ ก็สวยงาม ความหมายครบ ฟังเพลินๆ แต่หลายๆท่อนก็รู้สิว่า มันสำนวนนมเนยมากกกก คือฟังแวบแรกแล้วจะแบบ ん? ไม่รู้เหมียน เป็นเทรนด์การแปลของยุคใหม่ๆมั้ง ก็แร้วแต่

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

อืม ฉันพอใจมาก สวยงาม ความหมายครบ งดงาม ถือว่าไม่แย่ๆ

.

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

อะ ไปทีละอัน

3.1)การแปลแบบหาคำมาเทียบเคียง (Restatement Translation)

เทคนิคนี้มันจะเป็นลักษณะที่ว่า ภาษาต้นทางมีวิธีการพูดที่แบบ อาจจะพูดได้ในภาษาปลายทาง แต่ถ้าพูดแล้วมันจะแปลก ก็จะมีการปรับเปลี่ยน1 เช่น

…He cleared his throat

…เขากระแอม

เงี้ยจ้ะ

ทีนี้ ในเพลงนี้คือตรง

I wish I could be the perfect daughterถึงอยากเป็นลูกสาวที่ดีและเชื่อฟัง期特に応えたい

คือจริงๆภาษาญี่ปุ่นก็สามารถพูดว่า「完璧な娘になりたい」ได้ แต่เพลงนี้เขาก็เลือกที่จะ restate มันไปอีกทางนึงแทนซึ่งเขาก็สามารถเลือกสำนวนที่เป็นธรรมชาติของภาษาญี่ปุ่นและความหมายครบถ้วนได้ว่า “อยากจิตอบความคาดหวัง” (ก็คนแปลเป็นคนญป!!!)

3.2)การแปลคำแสดงอารมณ์ (Emotive Meaning Translation)

I know everybody on this island has a role on this island
So maybe I can roll with mine
รู้ดีทุกคนล้วนแต่มีสิ่งที่เหมาะสมอย่างที่แต่ละคนเป็น
และฉันก็มีหน้าที่ทำไป
自分の居場所があるのって本当素敵なことよね

เทคนิคนี้เนี่ย คือชอบมาก ไม่เคยคิดว่าเราจะทำแบบนี้ได้

คือต้นฉบับเขาอาจไม่ได้ใส่อารมณ์ลงไปมาก แต่เราในฐานะคนแปลบอกว่า ฉันจะใส่! ฉันจะใส่! เธอจะทำไม!

คือต้นฉบับเนี่ย จะบอกแค่ว่า เออ “ทุกคนมีบทบาทของตัวเองนะ” จบ แต่ภาษาญี่ปุ่นก็เสริมอารมณ์เข้าไปด้วยว่า [มันเป็นเรื่องวิเศษมากเรยจ้ะ] งี้

ซึ่งถามว่าผิดไหม ก็ไม่ผิด ก็แร้วแต่เขา ก็น่ารักดี

.

4)ภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจ

ภาษาถิ่นศึกษา (Dialectology)

คือวันนี้เนี่ยแหวกแนวนิดนึง

ปกติอย่างที่ทุกท่านทราบว่าเราจะมาในธีมภาษาศาสตร์เปรียบต่าง (Contrastive Linguistics) แต่ก็มีครั้งหนึ่งที่หลุดไปภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) เรื่องภาษากับเพศ (Language and Gender) ในบล็อกเหงา นี่แหละเหงา นี่คือความจริงที่ได้เจอ

ซึ่งวันนี้ เราก็จะมาภาษาศาสตร์สังคม แต่เป็นเรื่องภาษาถิ่นศึกษา (Dialectology) นะจ้ะพี่สาว

คือมันมาจากการที่แอบเห็นว่าในเพลงนี้มีการใช้ภาษาถิ่น ตรงนี้

光り、輝く海が私を呼んでる
おいでよと

ซึ่งก็อะ ก็พอเก็ท เพราะยัยเจ้าหงิงของเราเป็นสาวชาวเกาะ ฮูลาฮูลา ลัลลาไปทะเล ฮูเรฮูเร

ก็เลยอยากรู้ว่า หลังบ้านเรามันเป็นบ้านคนจีนไง แล้วสรยุทธมาด้วยไหม

เออก็ว่าแบบ ภาษาถิ่นของแต่ละภาษามันเป็นยังไงหนอ ก็พอรู้บ้างแต่ไม่ค่อยละเอียด

วันนี้ก็เลยว่ามาเรียนกันเถอะ

อะ ก่อนที่จะไปเข้าภาษาถิ่นของแต่ละภาษา เราก็จะมาทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษา (Language) กับภาษาถิ่น (Dialect) คืออะไรยังไง

คือปกติเราอาจเข้าใจแค่ว่า ภาษาถิ่นคือมีเป็นเหมือน subset ของภาษา แต่เพื่อรายละเอียดเราก็จะมาดูผู้เชี่ยวชาญกันว่าเขาพูดยังไง

ก็จิมี Oxford Dictionary (อ้างอิงใน Garcia & Sandhu, 2015) ที่อธิบายความหมายของภาษาไว้ดังนี้

1)วิธีการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าจะเขียนหรือพูดซึ่งประกอบไปด้วยการใช้คำอย่างมีโครงสร้างและตามแบบแผน
2)ระบบการสื่อสารที่ใช้ในประเทศหรือชุมชนใดชุมชนหนึ่ง

แต่คุณ Garcia & Sandhu (2015) ก็บอกว่า เออแต่มันยังคลุมเครืออยู่ เลยขอเสนอว่า ภาษาคือ

1)  มีการใช้อย่างกว้างขวางในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีความเกาะเกี่ยวของภาษา  
2)  มีความแตกต่าง(จากภาษาอื่น-จจ)อย่างที่เห็นได้ชัด  
3)  มีการใช้/ได้รับการยอมรับเหนือภาษาอื่นๆที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน  
4)  มีศักดิ์ศรี เช่น ได้เป็นภาษาประจำชาติ ภาษาราชการ ภาษาทางการขององค์กรนานาชาติ เป็นต้น  
5)  มีระบบต่างๆทางการเขียน เช่น ไวยากรณ์ กฎการสะกด การออกเสียง เป็นต้น  
6)  ใช้ในการศึกษา  
7)  ใช้ในการสื่อสารมวลชน  
8)  มีการใช้ในฐานะศิลปะทางภาษาเช่นร้อยแก้ว/ร้อยกรอง

และเสนอต่อว่าภาษาถิ่นคือ

1)  สิ่งที่เกิดขึ้นมา/แยกตัวออกมาจากภาษา
2)  มีความเทียบเคียงระบบของสัญญะที่มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ซึ่งได้มาจากภาษาเดียวกัน
3)  มีการใช้ที่โดดเด่นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
4)ไม่ได้มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากภาษาอื่นๆที่มีต้นกำเนิดร่วมกัน
5)ขาดคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งข้อดังต่อไปนี้  
a. ขนบการใช้ภาษา
b. จำนวนผู้ใช้ที่มาก
c. ศักดิ์ศรี
d. การถูกใช้ในการศึกษา
e. การถูกใช้ในสื่อ
f. การแสดงออกทางการเขียน
g. กฎต่างๆ เช่น ไวยากรณ์ โครงสร้าง คำศัพท์ เป็นต้น

ก็จะประมาณนี้ อะไปดูภาษาถิ่นของภาษาต่างๆ

4.1)ภาษาไทย

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ (ม.ป.ป.) ก็จะบอกเราว่า ภาษาไทยถิ่น/ภาษาท้องถิ่น/ภาษาถิ่น แบ่งกว้าง ๆ เป็น 4 ถิ่น คือ

ชื่อเต็มชื่อย่อ
ภาษาไทยถิ่นเหนือ  ภาษาเหนือ
ภาษาถิ่นอีสาน  ภาษาอีสาน
ภาษาไทยถิ่นกลางภาษากลาง
ภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาใต้

แล้วก็ยังแยกย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาไทยถิ่นใต้ ก็จะมีเช่น ภาษาสงขลา, ภาษานคร (นครศรีธรรมราช), ภาษาตากใบ (อำเภอในจังหวัดนราธิวาส), ภาษาสุราษฎร์ (สุราษฎร์ธานี) จ้ะ

ทีนี้ ถ้าจะพูดถึงความต่าง คุณมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ก็จะบอกว่าต่างเรื่องการใช้ การออกเสียง คุณสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2554) ก็จะเสริมกับเราว่าการออกเสียงต่างกันเยอะมาก แล้วก็จะมีข้อมูลที่จจตั้งข้อสังเกตเองในเรื่องของไวยากรณ์ก็มีความต่างบ้างจ้ะ

ซึ่งถ้าเอาข้อมูลทั้งหมดมาสรุปก็จะได้ประมาณนี้

ก็จะประมาณนี้จ้ะ

4.2)ภาษาอังกฤษ

ก็จะมีข้อมูลของคุณ English Linguistics in Essen (n.d.) จะบอกว่าภาษาอังกฤษมีภาษาถิ่นดังนี้

ซึ่งตัวเด่นจะเป็น British English กับ American English

ซึ่งอย่าง British English ก็จะมีหลายแบบ แต่แบบที่ได้ชื่อว่ามาตรฐานที่สุดคือ RP (Received Pronunciation>>>the pronunciation received by the public) ซึ่งคนพูดน้อยมาก

ส่วน American English ที่ว่าโดดเด่นเนี่ย คือหมายถึงของประเทศสหรัฐอเมริกาเด้อ ซึ่งก็จะแบ่งย่อยๆได้ตามนี้

1)  Midland, West (General American)>>>คนส่วนใหญ่พูด
2)  North (coastal states on the Atlantic, New England)
3)  South (coastal states on South Atlantic + Gulf of Mexico)

ถ้าจะถามว่า British กับ American ต่างยังไงคุณ English Linguistics in Essen ก็จะว่างี้จ้ะ

ประมาณนี้จ้ะ

4.3)ภาษาญี่ปุ่น

คุณ 東柔操 (1935) (อ้างอิงใน 大阪教育大学付属高等学校天王寺校舎、2003) บอกกับเราว่าภาษาถิ่นของญปแบ่งได้ตามนี้

และรูปแบบการแพร่กระจายภาษาถิ่นก็มีได้หลากหลาย ตามนี้

ซึ่งไอ่การแพร่กระจายของภาษาถิ่นเนี่ย พบว่ามันถูกคั่นด้วยแบบเช่น สะพาน, สันเขา, ทะเล งี้ด้วยนะ ฟีลแบบ พอข้ามสะพานนี้ไปปุปคนก็จะพูดอีกแบบแล้ว งี้

ซึ่งก็เลยมีการลองคำนวณว่า ภาษาถิ่นแพร่ได้เร็วเท่าไหร่ ก็มีการศึกษาคำว่า「~なんだ」ที่เป็นภาษาถิ่นของ中国地方ก็คำนวณได้ว่า ผ่านไป 550 ปีแพร่ไปได้ 330 กิโลเมตร แปลว่าแพร่ด้วยความเร็ว 600 เมตร/ปีล่ะจ้ะ

ซึ่งคุณ 木部など (2013) (อ้างอิงใน 東京都市大学付属中学校・高等学校) บอกว่าปัจจุบันเนี่ย คนก็พูดภาษาถิ่นน้อยลงแล้วพูดภาษากลาง (標準語) มากขึ้น

ซึ่งมันจะมี 2 คำเนาะคือ 標準語 กับ 共通語 ถ้าถามว่าต่างกันยังไงก็ตามนี้

คือแต่ก่อนเนี่ย ภาษามันจะกระจายออกจากศูนย์กลาง (เกียวโตกับโตเกียว) เหมือนคลื่น คือยิ่งห่าง คนก็ยิ่งพูดภาษาของเมืองหลวงน้อยลง แบบในภาพ

แต่ปัจจุบันคนพูดภาษากลางกันแทบจะทั้งประเทศ ลักษณะการกระจายเหมือนกับฝน เงี้ยจ้ะตามภาพ

ซึ่งภาษาถิ่นเนี่ยมันก็จะต่างจากภาษากลางหลายอย่าง แต่สิ่งที่โดดเด่นและคนพูดถึงกันมากที่สุดก็คือสำเนียง ซึ่งคุณ 中井 (2005) (อ้างอิงใน อัษฎายุทธ, ม.ป.ป.) ก็จะเล่าว่า สำเนียงแบ่งได้ 4 แบบ และใช้กันในพื้นที่ตั่งต่างตามนี้จ้ะ

ทีนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มาถึงคำถามสำคัญ

จจเอาเรื่องภาษาถิ่นมาพูดทำไม???

คือภาษาถิ่นเนี่ย มันเป็นประเด็นอย่างมากในเรื่องของการเมืองและสังคม

คือคุณ Manchanda & Haan (2018) จะอธิบายถึงคำว่า “ชาติ” (Nation) ไว้ว่าเป็น ความรู้สึกของการเป็นกลุ่มร่วมกัน

ทีนี้ ถ้าเราจะรู้สึกว่า เราเป็นพวกเดียวกัน มันก็ต้องทำอะไรหลายๆอย่าง เช่น “พูดภาษาเดียวกัน”

มันเลยทำให้ในประวัติศาสตร์เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง เช่น คุณ 徳川 (1979) ก็จะเล่าว่า ตอนการปฎิรูปเมจิ รัฐบาลเมจิก็สั่งให้ทุกคนใช้ภาษากลาง ห้ามพูดภาษาถิ่นของตัวเอง เพราะต้องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เงี้ยจ้ะ (อ้างอิงใน 東京都市大学付属中学校・高等学校n.d.)

บางคนอาจคิดว่า มันก็เรื่องอดีตไปแล้ว แต่จจจะบอกว่าในปัจจุบันบางพื้นที่ เช่นที่สเปนเนี่ย ก็จะมีชาว Catalonians ที่เรียกร้องเอกราชเพราะมองว่าตนไม่ใช่คนสเปน ทั้งเชื้อชาติ ทั้งภาษาที่พูดก็ต่าง เงี้ยจ้ะ (Garcia & Sandhu, 2015)

คือภาษามันเหมือนเป็นอัตลักษณ์ (Identity) ของคนจริงๆแหละ

แต่ว่าอย่างในญี่ปุ่นเนี่ย อะไรๆก็ดูดีขึ้น

คุณ 東京都市大学付属中学校・高等学校 ก็เล่าว่าหลังจากทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาก็มีการยอมรับภาษาถิ่นมากขึ้น

คุณ 田中 (2011) ก็จะบอกว่าตั้งแต่ปี 2000 มาก็มีการบูมของภาษาถิ่นในหมู่นักเรียนหญิงมอปลาย (女子高生方言ブーム) (อ้างอิงใน 東京都市大学付属中学校・高等学校n.d.)

คุณ大阪教育大学付属高等学校天王寺校舎 (2003) ก็จะบอกว่า มันมีการทำแบบสอบถามต่างๆนานา ก็จะเห็นว่าคนญปเองก็สนใจภาษาถิ่นมากขึ้น อยากที่จะอนุรักษ์สืบสานต่อไปถึงคนรุ่นหลังมากขึ้น เงี้ยอะจ้ะ

.

5)สรุป

ก็สรุปได้ว่าเป็นเพลงที่แปลได้ดีใช้ได้ ขัดใจภาษาไทยนิดหน่อยแต่ไม่น่าเกลียด ได้เรียนรู้เทคนิคการแปล Restatement Translation กับ Emotive Meaning Translation ในส่วนของภาษาศาสตร์ได้ดู Dialectology เนื่องจากในเพลงนี้มีการใช้ภาษาถิ่น ก็สนุกสนานกันไป

วันนี้ก็เหนื่อยแล้ว ขอลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

เอกสารภาษาไทย

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). ใบความรู้: ภาษาไทยถิ่น-ภาษาไทยมาตรฐาน. สืบค้น 11 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dltv.ac.th/home

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2554). หนังสือเรียนสาระความรู้พื้นฐานรายวิชาภาษาไทย (พท31001) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้น 11 พฤษภาคม 2563, จาก  http://korat.nfe.go.th/th_m2/chap3/chap3_6.pdf

หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อัษฎายุทธ ชูศรี. (ม.ป.ป.). แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

เอกสารภาษาอังกฤษ

Garcia, M. I. M. & Sandhu, H. A. (2015). Language and Dialect: Criteria and Historical Evidence. Grassroots, 49(1), 203-217.

Manchanda, N. & Haan D. L. (2018). Gender, nation, and nationalism. In B. R. Persaud & A. Sajed (Eds), Race, Gender, and Culture in International Relations: Postcolonial Perspectives (pp. 80-98). London and New York, NY: Routledge.

Variety Studies. (n.d.). In English Linguistics in Essen. Retrieved from https://www.uni-due.de/ELE/VarietiesOfEnglish.pdf

เอกสารภาษาญี่ปุ่น

大阪教育大学付属高等学校天王寺校舎「方言」『DaikyoFTenJH_JiyuuKenkyu』28号、2003年。

東京都市大学付属中学校・高等学校「方言は絶滅するのか~方言をのこすためにするべきこと~」〈https://www.tcu-jsh.ed.jp/paper/paper_hougen.pdf〉

ปล่อยให้ตัวฉันไป

สวัสดีจ้ะพสกนิกรทุกท่าน

ช่วงนี้อากาศก็ดีเนาะ กำลังสบายเลย

ร้อนอะไร แกอะคิดมาก

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เหมาะกับอากาศแบบนี้ เราต้องมาพร้อมกับเพลงนี้เท่านั้น

Let It Go จากเรื่อง Frozen จ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

อยากทานไอติมไผ่ทองจ้ะ

รอช้าทำไมไปกันเล้ยยยยย

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นอังกฤษ >>> https://youtu.be/moSFlvxnbgk

เวอร์ชั่นไทย >>> https://youtu.be/Lk7zrK8e0Es

เวอร์ชั่นญี่ปุ่น >>> https://youtu.be/4DErKwi9HqM

The snow glows white on the mountain tonight
Not a footprint to be seen
A kingdom of isolation
and it looks like I’m the queen
The wind is howling like this swirling storm inside
Couldn’t keep it in,
heaven knows I’ve tried  
Don’t let them in
Don’t let them see
Be the good girl you always have to be
Conceal, don’t feel,
don’t let them know
Well, now they know  

Let it go
Let it go
Can’t hold it back anymore
Let it go
Let it go
Turn away and slam the door

I don’t care what they’re going to say
Let the storm rage on
The cold never bothered me anyway

It’s funny how some distance
makes everything seem small
And the fears that once controlled me can’t get to me at all

It’s time to see what I can do
to test the limits and break through
No right, no wrong
No rules for me
I’m free

Let it go
Let it go
I am one with the wind and sky
Let it go
Let it go
You’ll never see me cry
Here I stand and here I’ll stay
Let the storm rage on

My power flurries through the air into the ground
My soul is spiralling in frozen fractals all around
And one thought crystallizes like an icy blast
I’m never going back
The past is in the past

Let it go
Let it go
And I’ll rise like the break of dawn
Let it go
Let it go
That perfect girl is gone
Here I stand in the light of day
Let the storm rage on
The cold never bothered me anyway
หิมะสีขาวเป็นประกายในราตรี
ไม่มีรอยเท้ายามที่มอง
ในดินแดนอ้างว้างร้างผู้คน
มีเพียงเรานี้ที่ครอบครอง
ดังมีพายุซ่อนอยู่ภายใน
หมุนวนเวียนว่าย
ถึงต้านทานเท่าไหร่
ฉันก็ห้ามไม่ได้

อย่าเปิดใจไป
อย่าให้เขาเห็น
ต้องเป็นคนดีอย่างที่เขาสอนให้เป็น
ปกปิดในใจ
อย่าให้เขารู้ สุดท้ายก็รู้

ปล่อยมันไปอย่างที่เป็น
ไม่อาจจะเก็บอีกต่อไป
ปล่อยออกมา
เลิกซ่อนเร้น
เดินกลับหลัง
หมดสิ้นเยื่อใย

ฉันไม่กลัว
ปล่อยให้เขาพูดไป
พัดให้โหมกระหน่ำ
ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่

มองอะไรยามไกลห่าง
กลับเห็นเล็กลงไปเลย
ความหวั่นไหวที่คอยเข้าครอบงำ
กลับทำไม่ได้ดังเคย

สิ่งใหม่ยังรอให้ลองให้รู้
จะไปสุดทางให้ใครได้ดู
ฉีกกฎซ้ำ ๆ เลือกทำสิ่งใดอย่างใจ

ปล่อยมันไปอย่างที่เป็น
เชื่อมใจไปกับลมและฟ้าปล่อยออกมา
เลิกซ่อนเร้น
เผชิญมันด้วยความกล้า
ฉันจะยืนตรงนี้เรื่อยไป
พัดให้โหมกระหน่ำ

พลังในกายล่องลมลอยฟ้าลงมาสู่ดิน
พลังในใจแทรกในเกล็ดน้ำแข็งล้อมรอบกายไม่สิ้น
ผลึกความคิดผุดเป็นเกล็ดใสไร้ความกังขา
ไม่ขอคิดหวนคืนไป
ความหลังไม่อาจคืนมา

เป็นตัวเราอย่างที่เป็น
ขอทะยานยังตะวันส่องฟ้า
ปล่อยออกมา
เลิกซ่อนเร้น
เด็กดีไม่เห็นมีค่า
ฉันจะยืนเด่นในแสงแรงกล้า
พัดกระหน่ำเข้าไป
ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่
降り始めた雪は足跡消して
真っ白な世界に一人の私
風が心に囁くの
このままじゃダメなんだと
             
戸惑い、傷つき
誰にも打ち明けずに悩んでた
それももうやめよう            
ありのままの姿見せるのよ
ありのままの自分になるの            
何も怖くない 風よ吹け
少しも寒くないわ
         
悩んでたことが噓みたいね
だってもう自由よ 何でもできる
       
どこまでやれるか
自分を試したいの
そうよ変わるのよ

     
ありのままで
空へ風に乗って
ありのままで飛び出してみるの
二度と涙は流さないわ
             
冷たく、大地を包み込み
高く舞い上がる想い描いて
花咲く氷の結晶のように
輝いていたい
もう決めたの

これでいいの
自分を好きになって
これでいいの 自分信じて
光浴びながら歩き出そう
少しも寒くないわ

.

2)ความประทับใจโดยรวม

คราวนี้ขอเป็นครั้งแรกเลยที่พูดถึงความประทับใจฉบับแปลรวมกัน เพราะมี印象เดียวกัน คือมันดี!มาก!ทั้งคู่เลย แบบชอบมากกกกกกกกก คือมันอาจไม่ได้สมบูรณ์แบบขนาดนั้น แต่มันก็โดนใจข้าน้อยเหลือหลาย ภาษาดี ความหมายครบ คือแบบ ชอบมากเลย so far my most fav ไม่วอก

.

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

การละไว้ไม่แปล (Omission Translation)

การแปลเป็นความหมายควบ (Collocation Translation)

การแปลข้อความเชิงเปรียบ (Figurative Senses Translation) >>> บุคลาธิษฐาน (Personification)

อะไรยังไง

คือ ต้องบอกว่า มันน่าทึ่งมากที่เราค้นพบเทคนิคทั้งหมดเหล่านี้แค่ในท่อน/ประโยคเดียว ก็คือนี่จ้ะ

อะ ไปทีละอัน

3.1)การละไว้ไม่แปล (Omission Translation)

คือมันเริ่มจากที่ว่า ตัวภาษาอังกฤษเนี่ย ภายในประโยคเดียว เขาจะพูดถึง “ลม” ถึง 2 ครั้งด้วยกัน

A)The wind is howling

B)The storm is swirling inside (of me)

และเขาก็บอกว่าเจ้า A กับ เจ้า B เนี่ยมันเหมือนกัน

แต่ทีนี้เนี่ย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ อาจเช่นมันซ้ำซ้อนไปมันอะไรไป ผู้แปลภาษาไทยและญี่ปุ่นของเราเลือกที่จะตัดทิ้ง

ภาษาไทยตัด A)The wind is howling

ภาษาญี่ปุ่นตัด B)The storm is swirling inside (of me)

ไอ่การตัดทิ้งไปเลย ไม่แปลเนี่ย เรียกว่า การละไว้ไม่แปล (Omission Translation) จ้ะ

ทีนี้ เรามาดูต่ออันที่เขาแปล

3.2) การแปลเป็นความหมายควบ (Collocation Translation)

คือภาษาไทยแปล

The storm is swirling inside (of me) >>> หมุนวนเวียนว่าย

คือพอแปลออกมาแล้วเนี่ย คุณใช้คำหลายๆคำคู่กันไป นำคำมาซ้อนเสียง เพื่อให้ออกเสียงคล้องจอง เป็นธรรมชาติ สละสลวย ซึ่งบอกเลยนะ เทคนิคนี้ยากมาก คือมันไม่ใช่แค่เรื่องของการ keep meaning intact อย่างเดียวแล้ว มันเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ศิลปะทางเสียงด้วย ตรงจุดนี้ต้องยอมรับนะ ว่าภาษาไทยออกมาสวยยิ่งกว่าต้นฉบับอีก

3.3) การแปลข้อความเชิงเปรียบ (Figurative Senses Translation) >>> บุคลาธิษฐาน (Personification)

คือ Figurative Language มันคือลูกเล่นของการใช้ภาษาเนาะ ซึ่งจริงๆมันมีย่อยๆอีกเยอะแยะมาก แต่วันนี้เราจะพูดถึงบุคลาธิษฐาน (Personification)

คือไร

คือการให้สิ่งมีชีวิตทำกริยาเหมือนสิ่งมีชีวิตจ้ะ

ก็คือ ภาษาญี่ปุ่นแปล

The wind is howling >>> 風が心に囁くの

คือต้นฉบับเนี่ย เขาบอกแค่ว่า ลมมันพัดวู้วๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่ภาษาญี่ปุ่นแปลออกมาว่า “สายลมกระซิบกับฉันว่า…”

ซึ่งสายลมไม่มีชีวิต จริงๆมันก็กระซิบไม่ได้ไง แต่เราก็บอกว่าเขากระซิบ ก็กือบุคลาธิษฐาน

ซึ่งมันเก๋มากนะคุณผู้ชม คือคุณลองคิดนะ ต้นท่อนนี้เนี่ย มันคือท่อนแรกๆของเพลง มันเป็นซีนทราเอวส้าเนี่ย หนีออกจากบ้านมา แล้วชีรู้สึกแบบ อ้างว้างมากเลย เหงามาก แล้วภาษาอังกฤษเนี่ย ก็พยายามบรรยายสภาพความเหงาด้วยการบอกว่า เนี่ยได้ยินเสียงลมพัดวู้วๆๆๆๆๆๆๆเลย

แต่ภาษาญี่ปุ่นมาเหนือมาก “สายลมกระซิบบอกว่า…” คือไม่ได้โรแมนติกเลยนะ มีความเหงา ความหลอน คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียวแบบx10 เพราะฉะนั้นเนี่ยต้องบอกว่า เก๋มากนะคนแปล เอาไปเลยสิบแต้ม

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

คำกริยาประสม (Compound Verb)「複合動詞」

คือมันเริ่มมาจากที่ว่า จจแอบเห็นว่าในเพลงนี้เวอร์ชั่นญปมีการใช้เยอะมากๆๆๆๆๆ ดูตัวอย่างนะ

降り始めた
打ち明けずに
飛び出してみる
包み込み
舞い上がる
歩き出そう
6 คำ

แล้วจจก็แอบนึกถึงข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งได้คือ

จจใช้คำพวกนี้เป็นน้อยมาก…

ซึ่งดูเหมือนว่าจจไม่ได้คิดไปเองคนเดียว คือคุณ 田中 (2004) เนี่ยก็จะบอกเหมือนกันว่าคำกริยาภาษาญปกว่า 40% เป็นคำกริยาประสม แต่หนังสือเรียนก็ไม่ค่อยมีสอน แล้วนรต่างชาติอย่างเราๆก็จะใช้ไม่ค่อยเป็น

คืออย่างสำหรับจจเนี่ย พวกเนี่ยคือมันเป็นคำที่เหมือนจะมีหลักการ แต่จจก็ไม่เคยเข้าใจหลักการมันสักเท่าไหร่ แล้วก็ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป ซึ่งก็รู้สึกว่าแบบ พอกันที! มุตาจะไม่เป็นเหยื่อของแกอีกต่อไป! วันนี้ฉันต้องได้เรียนรู้อะไรดีๆ!

มุตาไม่ใช่เหยื่อของแกอีกต่อไป!

ก็เลยไปลองรื้อถอนประกอบสร้างความรู้ใหม่หมดมานำเสนอจ้ะ

4.1)ภาษาไทย

มีทฤษฎีเยอะมากกกกกกก แต่ขอเอาอันที่ล่าสุด(ที่เจอ)มาให้ดู คือคุณพูนพงษ์ (2546) (อ้างอิงในรจิน, 2554) เนี่ยจะบอกว่าคำประสมคือ

1)เกิดจากคำมูล 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน  
2)คำมูลที่เอามาประสมความหมายต่างกัน  
3)คำมูลที่เอามาประสมเป็นภาษาอะไรก็ได้ ยกเว้น คำบาลี-สันสฤตที่เอามาต่อกันในลักษณะคำสมาส  
4)ความหมายของคำประสมจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่
4.1)มีเค้าความหมายเดิม เช่น เสียใจ
4.2)ความหมายเปลี่ยนไป เช่น ก้นครัว
4.3)มีทั้งความหมายเปลี่ยนและยังเค้าความหมายเดิม เช่น กินโต๊ะ  

ทีนี้เนี่ยก็จะมีการพูดถึงโครงสร้างคำประสมไว้เยอะมากกกก ซึ่งจจคิดว่าของที่น่าสนใจคือคุณบรรจบ(อ้างอิงใน รจิน, 2554) เนี่ยพูดไว้ได้น่าสนใจ เขาบอกว่า คำประสมแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

ประเภทตัวอย่าง
คำประสมประเภทนามรถเร็ว, เรือนต้นไม้
คำประสมประเภทกริยาเดินจักร, กินใจ  
คำประสมประเภทวิเศษณ์หลายใจ, คอแข็ง

โอเค นั่นก็คือคำกริยาประสมของไทย ดูไม่ยาก

4.2)ภาษาอังกฤษ

ก็จะมีคุณ Aronoff (2011) (อ้างอิงใน Christianto, n.d.) บอกเราว่า Compound Word เนี่ยบอกกับเราว่าคำประสมคือการประสมคำ (Lexeme) ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

ละทีนี้ก็มีคุณ Christianto (n.d.) ที่ศึกษาประเภทของการประสมคำ (Types of English compounds) กับประเภทคำที่เกิดจากการประสม (Lexical categories resulted from the process of compounding)

งงอะดิ5555555555555555555555555555555555555555555555

จริงๆก็อยากอธิบาย แต่เดี๋ยวบล็อกยาวไป แล้วมันก็ค่อนข้าง technical พอสมควร เอาเป็นว่า ไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรจ้ะ เป็นภาษาสวรรค์

แต่เอาเป็นว่า คุณ Christianto (n.d.) บอกว่าประเภทคำที่เกิดจากการประสมในภาษาอังกฤษมี 3 ประเภท ได้แก่

ซึ่งก็ดูไม่ยาก

แต่ประเด็นคือพอมาถึงตรงนี้เนี่ย จจมีความรู้สึกว่า คำกริยาประสมของภาษาไทย/อังกฤษมันมีความ random มากเลย แบบดูเหมือนแบบ ก็จำๆเอาละกัน ไรงี้

เอาเป็นว่า ก็ตามนั้นแหละๆ ก็จำๆเอาเนาะ5555555555555

ใดๆ ตัดภาพมาที่พี่สาวญี่ปุ่น จจว่าเขามีระบบของเขาอยู่ ซึ่งการเก็ทระบบอาจยากนิดนึง แต่ถ้าเก็ทแล้วเนี่ย จจว่าดีมาก

ใดๆ คำกริยาประสมของภาษาญี่ปุ่นมีทั้งหมด 84,000 ล้านคำ ดังนั้นเราจะยกตัวเด่นๆดังๆมาให้ได้รับชมพอเป็นกระสัย

4.3)ภาษาญี่ปุ่น

บทเรียนวันนี้「~はじめる」「~だす」「~おえる(おわる)」「~きる」「あげる」

คือของภาษาญี่ปุ่นเนี่ย คำกริยาประสมของเขาเนี่ย ก็จะมีคุณ影山 (1993) (อ้างอิงใน望月・申、2017) บอกกับเราว่า คำกริยาประสมของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ คำประสมเชิงไวยากรณ์ (統語的複合動詞) และ คำกริยาประสมเชิงคำศัพท์ (語彙的複合動詞)

統語的複合動詞

語彙的複合動詞

ซึ่งจริงๆเนี่ย เขาก็จะอธิบายไปต่อด้วยว่า มันมีหลักการแบ่งนู่นนี่นั่นยังไง แต่มันยากมากกกก และสำหรับผู้เรียนจจว่าก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น อยากโฟกัสไปที่การใช้มากกว่า

ซึ่งถ้าจะมานั่งเรียนทุกตัวก็เหน่ยจ้ะ

ดังนั้น ก็เลยขอยกบางตัวที่แบบ มันคล้ายๆกันแล้วมีความงง เป็นอะไรที่แบบ จริงๆหลายๆคนก็คงใช้เป็นแหละ แต่ถ้าไม่ได้เกทหลักการมันจริงๆ ก็จะมีความงงได้บ้างอยู่ดีว่า อ้าวแล้วแบบนี้ล่ะใช้ได้ไหม เงี้ยจ้ะ

ซึ่งบทเรียนวันนี้เราก็จะพูดถึง 6 ตัว คือ「~はじめる」「~だす」「~おえる(おわる)」「~きる」「あげる」

4.3.1) 「~はじめる」「~だす」

คือคุณ 山本 (1983) เนี่ย (อ้างอิงใน 田中、2004) ก็จะบอกเราไว้ว่า ทั้ง 2 คำมันมีความหมายของการเริ่มต้น (開始) หมดเลย เออแล้วมันต่างไง

คุณ 田中 (2004) เนี่ยก็จะบอกเราว่า มันสามารถมองความต่างได้ 3 ประเด็น

จริงๆแล้วเนี่ย นักวิชาการแต่ละคนเถียงกันตาแตกมากเรื่องความต่างของคำพวกนี้ แต่อันนี้ เคี้ยวและย่อยให้พสกนิกรแบบเข้าใจง่ายมาก55555

4.3.1) 「~おえる(おわる)」「~きる」「あげる」

คือพี่สาว田中 (2004) บอกมาก่อนเลยว่า 「~おえる(おわる)」เนี่ย คือการทำอะไรบางอย่างจบแบบมีความตั้งใจ ถ้าเอาให้ง่ายที่สุดคือ คิดซะว่ามันเป็นคำตรงข้ามกับ「~はじめる」

เอ้อ! สุดปัง! คำเดียวจบไม่ต้องพูดมาก!

แต่ใจเย็นก่อนสหายข้า สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร

คือคุณ田中 (2004) ก็จะพูดความต่างของ「~きる」「あげる」ไว้แบบ เออจจเองก็ไม่เคยคิดมาก่อน และรู้สึกว่า เห็นภาพง่ายมาก ชอบๆ คิดว่าพสกนิกรก็ควรจำไปใช้

ก็จะประมาณนี้

.

5)สรุป

ก็สรุปว่า เพลง Let It Go เป็นเพลงแปลที่ดีมากกกกกทั้งสองเวอร์ชั่นเลย ชอบมากๆๆๆๆทั้งคู่ ในส่วนของการแปลก็พูดกันถึงสามเทคนิคคือ Omission Translation, Collocation Translation, Figurative Senses Translation (Personification) ในส่วนของไวยากรณ์ก็เรียนรู้เรื่อง複合動詞ถึงจะไม่เยอะมากเพราะเวลามีจำกัดแต่จจก็คิดว่าเราได้รากฐานที่ได้ไปในวันนี้

ก่อนจากกันก็ขายของเล็กน้อย

ก็คือ Let It Go เนี่ยมันจะมี Pop Version ด้วยซึ่งร้องโดย Demi Lovato ก็ลองฟังๆดูจ้ะ

ก็สำหรับวันนี้ก็เหนื่อยแล้ว แค่นี้ละกัน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

เอกสารภาษาไทย

รจิน จันทา. (2554). พจนานุกรม ฉบับมติชน : วิคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำประสม. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกสารภาษาอังกฤษ

Christianto, D. (n.d.). Compound Words in English. Retrieved from https://www.academia.edu/40031870/Compound_Words_in_English

เอกสารภาษาญี่ปุ่น

田中衞子「類義複合動詞の用法一考――日本語教育の視点から――」『言語と文化』10号、2004年1月。

望月圭子・申亜敏「英語・中国語からみた日本語の無界性:複合動詞と空間認知」『多言語からみた日本語複合動詞と日本語教育――第一回研究会』東京外国語大学、2017年。

งาน งาน แปดโมงเช้าได้เวลาเริ่มงาน งาน

สวัสดีจ้ะมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน

วันนี้จจก็กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ในเพลงที่เข้ากับบรรยากาศของพสกนิกรในเวลานี้มาก

ปั่นงาน!!!

ฉันยังไหวจ้ะ

ใช่จ้ะ วันนี้เรามาในเพลง Happy Working Song จากเรื่อง Enchanted จ้าพี่สาววววววว

เหม่อมอง รอคอยวันนั้นที่เขาจะมา

ไปกันเลยยยย

.

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นอังกฤษ>>> https://youtu.be/n15UKexKf4k

เวอร์ชั่นไทย>>> https://youtu.be/w49FuyX6JaI

เวอร์ชั่นญี่ปุ่น>>> https://youtu.be/4KahgwSrZS4

Come my little friends as we all sing a happy little working song
Merry little voices clear and strong
Come and roll your sleeves up,
so to speak, and pitch in
Cleaning crud up in the kitchen
as we sing along
Trill a cheery tune in the tub as we scrub a stubborn mildew stain
Pluck a hairball from the shower drain
To that gay refrain
of a happy working song

We’ll keep singing without fail
otherwise we’d spoil it
Hosing down the garbage pail
and scrubbing up the toilet, ooh!

How we all enjoy letting loose with a little la-da-dum-dum-dum
while we’re emptying the vacuum
It’s such fun to hum
A happy working song
A happy working song

Oh, how strange a place to be
Till Edward comes for me
my heart is sighing
Still, as long as I am here
I guess a new experience could be worth trying
Hey, keep drying!

You could do a lot when you’ve got such a happy working tune to hum
While you’re sponging up the soapy scum
we adore each filthy chore that we determine
So friends even though you’re vermin
we’re a happy working throng

Singing as we fetch the detergent box
For the smelly shirts and the stinky socks
Sing along
If you cannot sing, then hum along
as we’re finishing our happy working song!


มาสิเพื่อนตัวน้อย
เรามาร้องเพลงสุขสันต์เวลาทำงานด้วยกัน
เปล่งด้วยความมั่นใจให้มันก้องดัง
มาพร้อมพรั่งเพื่อรวมพลังที่ไม่มีหดหาย
กวาดถูรอยในครัวให้สดใสไปกับเพลงที่ร้อง
เล่นทำนองปลุกใจในอ่างน้ำ
กำจัดคราบให้มันสะอาดน่าชม
เก็บเศษผมที่บังก้นท่อทิ้งไป
พาเพลิดเพลินหัวใจทำงานบ้านไปกับเสียงเพลง

ร้องเรื่อยไปไม่มีพลาดผิด
ไม่งั้นต้องมีปัญหา
ใช้ผ้าหนาเช็ดแล้วเช็ดบิด
และขัดให้โถเงาวับตา
 
ช่างสนุกสนานไปด้วยกัน
เธอกับฉันมาลาล่าลำล้ำลา
ดูดฝุ่นผงแล้วเราก็คว่ำทิ้งไป
เรารื่นเริงหัวใจทำงานไปกับเสียงเพลง
สุขใจกับเพลงที่ร้อง  

โอ้ว ถิ่นนี้พิกลหนักหนา
ตราบที่เอ็ดเวิร์ดจะมา
จิตใจยังหวั่นไหว
แล้วเมื่อต้องรอคอยอย่างนี้
ก็ถือเป็นโอกาสดีที่เราได้ลองเรื่องแปลกไป
เฮ้ อย่าช้าใย  

จะทำงานได้คล่องเราต้องร้องเพลงเอาไว้ไม่เคยจะเบื่อสักที
ปัดให้ดี ไม่มีสบู่ฝังใน
สุดปลื้มใจทุกอย่างถึงตัวเล็กๆกันไม่น้อย
และแม้เธอจะดูเหมือนต่ำต้อยเราช่วยกันด้วยความเรียบร้อย

หยิบเอาผงซักฟอกยังมีเพลงไม่ขาด เริ่มลงมือเตรียมซักผ้าให้หอมสะอาด
ร่วมร้องกัน
หากว่าร้องไม่เป็นก็ฮัมและกัน
เสร็จเร็วพลันเมื่อเราสุขสันต์กับเพลงทำงาน
みんな力合わせて
お掃除しましょう
みんな声合わせて
歌いながら
片付けましょう
清潔にしましょう
キッチンも
お風呂の頑固な汚れと黴
磨きましょう
髪の毛は捨てましょう
大きな声で歌いながら  
       
音楽に乗れば心うきうき
雑巾絞り
きれいにぴかぴか!      
お部屋のお掃除の後は
忘れないで
ゴミも、ちゃんと捨てて
どんなことも楽しいわ
歌があれば
 
あ、不安だったの
知らない世界で迷子になって
もう一人じゃない
初めてのことでも大丈夫よ
さあ、みんなで    

歌を口ずさめば
仕事は捗る
こびりついた汚れも
ごしごし擦れば落ちるわ
とっても働き者ね
素敵な仲間
   
お洗濯もしましょう
泥だらけの靴下も
真っ白楽しくやりましよう
声合わせ、歌いながら


.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

ก็โอเคจ้ะ แปลลื่นไหลใช้ได้ โอเค ความหมายครบ แต่แอบขัดใจกับภาษาที่มันดูโบราณๆไปหน่อย คือตัวภาษาอังกฤษภาษาเขาปัจจุบันมากๆเลย

แล้วอีกอย่างหนึ่งนะ

คือจจเนี่ยจะรู้สึกว่าหนังฝรั่งถ้าเมื่อไหร่ก็ตามใช้ setting เป็นยุคโบราณนะ คือต้องสำเนียงอังกฤษเพราะสำเนียงเมกาเพิ่งเกิดไม่นานนี่เอง ใช่มะ ก็ประเทศเมกาเพิ่งมาเองนิ

นั่นแหละ ดังนั้นนักแสดงเนี่ย คือใช้สำเนียงเมกันจ๋ามาก มันก็จะให้ความรู้สึกปัจจุบันแบบสุดๆ แต่ภาษาไทยคือแปลมาแบบ ลิเกหน่อยๆ เลยรู้สึกขัดแปลกๆ งะ

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

อืมมมม ชอบๆๆๆ เป็นครั้งแรกที่รู้สึกภาษาญี่ปุ่นสามารถส่งเมสเสจได้เยอะ ปกติจะทำไม่ค่อยได้ ถือว่าทำได้ดีมากนะ แบบใช้คำเอยอะไรเอยให้ผู้ฟังแบบเกิดจินตภาพได้ เธอเก่งมากมิสซิสสร

.

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

Taxonomy (การจัดจำพวก)

กรณีศึกษา “clean” “กวาดถู”「清潔にする」

คืออะไร

คืออันนี้เนี่ย จะคล้ายๆกับที่จจเคยพูดไว้ในบล็อกลมมมมพัดตึ้ง!ตึ้งๆๆๆๆๆๆๆๆ!ว่า มันมีจะมีเทคนิค Generic to Specific Translation/Specific to Generic Translation

ซึ่งคราวนั้นก็จะแค่เล่าคอนเซปท์ แต่คราวนี้เราจะมาเล่าวิธีการ

คือคุณรัชนีโรจน์ (2552) เนี่ย ก็จะบอกเราว่า เธอๆ วาดให้มันเหมือนแผนภาพต้นไม้สิ

อะดูตัวอย่าง

คือเหมือนกับว่า สมมติเราอยากจะหาคำแปลเงี้ย แต่เราอาจจะคิดไม่ออกว่ามันตรงกันไหมอะไรยังไง ก็ค่อยวาดๆแผนผังต้นไม้ โดยเริ่มจากคำศัพท์บอกหมวด (Generic) แล้วไล่ลงมาตามคำศัพท์เฉพาะเจาะจง (Specific) เงี้ยจ้ะ มันก็จะช่วยเราในการจัดหาคำได้ง่ายขึ้น

ซึ่งในเพลงของเรามีจุดที่น่าสนใจดังนี้

Cleaning crud up in the kitchen
as we sing along
กวาดถูรอยในครัวให้สดใสไปกับเพลงที่ร้อง清潔にしましょう、キッチンも

ซึ่งจจก็รู้สึกว่า เออคำศัพท์มันความหมายไม่เท่ากันรึเปล่า

ก็เลยเริ่มจาก ไปหาคำไวพจน์ (Synonym) ของคำว่า “ทำความสะอาด” ของแต่ละภาษาก่อน ก็จะมีตามนี้

ภาษาอังกฤษ (จาก Thesaurus.com)

ภาษาไทย (คิดเองจ้ะ ครบไหมไม่รู้บอกที)

กำจัดคราบกวาดขจัดคราบ
ขัดถูชำระล้าง
เช็ดซักซับ
ปัดแปรงล้าง
สระ    

ภาษาญี่ปุ่น (จาก Thesaurus.weblio.jp)

液体ですすぐ、洗う、あるいは空にする流す
家をきれいにし、きれいに片付ける灑掃・清掃・洒掃
ほうきや、ほうきのようなもので掃く掃く・掃き出す 
(人の腸または体から)排出または排泄する掃除
から殻または外皮を取り除く掃除
きれいにしながら除去する洗う ・ 落とす ・ 洗濯
すべてのコンテンツか所有物を取り除く、あるいは完全に空にする掃除
不必要な物質を除去する浚う
何かをきれいにする行為洗い濯ぎ ・ 清め ・ 洗滌 ・ クリーニング ・ 浄 ・ 洗浄 ・ 箕帚 ・ 洗濯 ・ 浄化 ・ 清掃 ・ 浄め ・ 大掃除 ・ クレンジング
ほこり、汚物または不必要な物質を除去することできれいにする灑掃 ・ 清める ・ 洗滌 ・ 渫う ・ 洗う ・ 洗浄 ・ 浄める ・ 浚う ・ 浄化 ・ 清掃 ・ 洒掃

ซึ่งศัพท์ของคุณเธอเนี่ย เยอะมากๆเลย แผนภาพเราคงยาวเป็นกิโล55555555555

แต่ถ้าคร่าวๆ ก็น่าจะได้อะไรแบบนี้หรือเปล่า

Ø แปลว่า ไม่มีคำที่ตรงเป๊ะๆนะจ้ะ

เออพอทำแบบเนี้ย ก็จะเห็นได้ชัดๆเลยว่า clean/ทำความสะอาด/清潔にする คือคำศัพท์บอกหมวด แล้วคำศัพท์เฉพาะเจาะจงก็จะเป็นย่อยๆลง (ซึ่งมีได้อีกเยอะมากแต่วันนี้เอาเท่านี้พอ)

ก็จะเห็นว่า sweep=กวาด=掃く

แล้วก็ ถู=拭く ซึ่งภาษาอังกฤษจจมองว่า ไม่มีคำไหนที่เซนส์ตรงกันเป๊ะๆซะทีเดียว

ก็จะเห็นชัดว่า ภาษาญปคือแปลได้ตรง เพราะใช้คำศัพท์บอกหมวดเหมือนกัน แต่ภาษาไทยแปลได้แคบกว่าเพราะใช้คำศัพท์เฉพาะเจาะจง นะฮะ

ซึ่งถ้าให้วิเคราะห์ว่าทำไมภาษาไทยเราเป็นงั้น อาจเป็นเพราะ 1)คำว่า “ทำความสะอาด” มันไม่เพราะ ไม่ลงกับเมโลดี้ มั้ง 2)ในฉากของหนังยัยนางเอกก็กำลังกวาดพื้นอยู่จริงๆนะ555555 ดูวินาทีที่ 1.43-1.49

แล้วที่ต้องพูดเป็นเซ็ทว่า “กวาดถู” ก็คงมาจากการที่เวลาคนไทยทำความสะอาดบ้านก็ต้องกวาดก่อนแล้วค่อยถู มันเลยเหมือนพูดจนเป็นคล้ายๆ collocation ไปแล้วงะ คิดว่านะ ก็น่าจะประมาณนี้

ไปต่อกันเลยจ้ะ

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

ประโยคคำสั่ง (Imperative Sentence)「命令文」

ตัวอย่าง “Come” “มาสิ”「お掃除しましょう」

คือเอางี้ เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมจจถึงอยากพูดประเด็นนี้ ก็ขออนุญาตแสดงบทบาทสมมติให้ทุกท่านรับชม

“โอ ฉันว่าเพลงนี้มันแปลแปลกๆจัง” จจ1 เอ่ยเอื้อน

“เธอว่ามันแปลกรึ แปลกอย่างไรล่ะ” จจ2 กล่าวถาม

“เธอดูสิ ภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ใช้รูป ~ましょう เยอะจังเลยนะ”

“จริงอย่างเธอว่า แล้วมันแปลกอย่างไรล่ะ”

“ก็ถ้าเป็นฉันนะ ฉันอาจไม่ใช้เยอะอย่างนี้” จจ1 ตอบกลับ

“โอ แล้วถ้าเป็นเธอ เธอจะใช้ว่าอย่างไรกันล่ะ” จจ2 ถามต่อ

“อืม ไม่รู้สิ อาจจะรูปてมั้ง”

“นั่นน่ะสินะ แต่การที่คนญี่ปุ่นกับเธอแปลออกมาไม่เหมือนกันเนี่ย เธอว่ามีอะไรบางอย่างที่แปลกไปรึเปล่า” จจ2 ตั้งข้อสังเกต

“อา นั่นสินะ คงมีอะไรบางอย่างแปลกไปจริงๆนั่นแหละ” จจ1 เห็นด้วย

เรื่องราวก็เอวังด้วยประการฉะนี้

นั่นแหละ จจก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า เออแฮะ แสดงว่าความเข้าใจเรื่องประโยคคำสั่งของจจ มันต้องมีอะไรบางอย่างที่แปลกๆ และคิดว่าพสกนิกรทุกท่านก็อาจเป็นเหมือนกัน เลยไปลองนั่งทวนตำราใหม่หมดเพื่อไขข้อข้องใจ

ก็จะได้คำตอบนี้มา ซึ่งจจว่า มันดีมาก

คือคุณ Takahashi (2004) เนี่ย เขาศึกษาประโยคคำสั่งของภาษาอังกฤษ ว่าแม้มันจะใช้รูปเดียวกันนะ แต่ความหมายมันมีได้หลากหลายมากเลย และคุณเขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาญี่ปุ่นไม่เป็นแบบนี้ เพราะภาษาญี่ปุ่นมีรูปบ่งชี้คำสั่ง (Imperative Marker) เยอะมาก

จจเลยถึงบางอ้อว่า อ๋อออออออ คือภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเนี่ย รูปบ่งชี้คำสั่งมันน้อย แต่ภาษาญี่ปุ่นมีเยอะ มันเลยทำให้เราที่พื้นฐานรู้ภาษาไทย/อังกฤษพอมาเจอภาษาญี่ปุ่น ก็จะมีความอ๊องเอย

ฟีลเหมือนมาจากประเทศที่กฎระเบียบไม่เคร่ง พอไปประเทศที่เคร่ง ก็จะทำตามกฎเขาไม่ค่อยถูก เงี้ยอะจ้ะ (ข้าน้อยขอสาบานว่าไม่ได้อ้างอิงประเทศใดๆทีมีอยู่จริงในพิภพนี้)

เออนั่นแหละ เลยขอทบทวนนิดนึงว่า การออกคำสั่งในแต่ละภาษา มันทำยังไง

4.1)ภาษาไทย

คือคุณสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช (อ้างอิงใน ทรูปลูกปัญญา, ม.ป.ป.) เนี่ยจะบอกเราว่า ประโยคในภาษาไทยถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การสื่อสารแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่

ประโยคบอกเล่า  
ประโยคปฏิเสธ  
ประโยคคำถาม  
ประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือวิงวอน  

แล้วคุณเขาก็จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือวิงวอนไว้ว่า

I)ส่วนใหญ่จะละประธาน

II)เริ่มต้นด้วยคำแสดงคำสั่งหรือขอร้อง (เช่น อย่า ให้ จง โปรด ช่วย) เช่น ห้ามใส่รองเท้าแตะ

III)ใช้กริยาขึ้นต้นประโยค เช่น เข้ามาซิ

IV)อาจมีกริยาช่วยเน้นเจตนาของผู้ส่งสาร

V)ขึ้นต้นด้วยคำเรียกขาน เช่น หนูแดงมาหาแม่หน่อย

อะไรประมาณนี้จ้ะ ก็ดูซิมเปิ้ลดีเนาะ

4.2)ภาษาอังกฤษ

คือคุณ E-Grammar ก็จะบอกเราว่า ภาษาอังกฤษง่ายมากเลย แค่ใช้ Bare Infinitive Verb (ฟีลแบบ กริยาตั้งต้นที่ยังไม่ผ่านการผันใดๆ) ขึ้นต้นประโยคก็ออกคำสั่งได้แล้ว เช่น Sit down

เอ้ออออ กฎดูง่ายแบบสุดปังงงง

แต่อย่างที่บอก คุณ Takahashi (2004) เนี่ยก็บอกว่าเอ้อแต่ความเป็นจริงเนี่ยนะ แม้หน้าตารูปประโยคจะเหมือนกัน แต่การรับรู้ของคนเนี่ยต่างกันเยอะ ประโยคคำสั่งของภาษาอังกฤษมันมีระดับของการออกคำสั่งที่หลายระดับมากๆๆๆๆๆ คุณเขาก็สรุปให้ดังนี้จ้ะ

ก็คือ ยิ่งไปทางขวามันก็จะมีความออกคำสั่งมากๆๆๆๆ ไปทางซ้ายก็จะออกคำสั่งน้อยๆๆๆๆๆๆ

แต่อันซ้ายสุด Warning (การเตือน) เนี่ย มันคือแบบ เออมันอาจฟังดูน่ากลัว ดูข่มขู่ ว้ายอย่าทำอะไรฉันเลยฉันก็ตัวแค่นี้ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นการออกคำสั่ง คุณเขาเลยจัดไว้ในประเภทที่ออกคำสั่งต่ำอะจ้ะ

ทีนี้เนี่ย  ทั้งหมดที่พูดมาเนี่ย ทดไว้ในใจก่อนนะ แล้วไปดูญปก่อน แล้วเดี๋ยวมาอธิบายต่อจ้ะ

4.3)ภาษาญี่ปุ่น

คืออย่างที่เล่าวตั้งแต่แรกว่า จจแอบเห็นว่า เพลงนี้ใช้รูป~ましょうเยอะทีเดียว มีรูปてบ้างแต่น้อย ก็เลยลองสรุปมาดูดังนี้

て形~ましょう
忘れないで
捨てて

   

   



お掃除しましょう
片付けましょう
清潔にしましょう
磨きましょう
捨てましょう
お洗濯もしましょう
やりましよう
2 ครั้ง7 ครั้ง

จจก็แอบไปศึกษามาว่า て形เนี่ยมันคือยังไง มันหาญกล้ายังไงมาแปลว่า จง… ก็เลยไปหามา ก็จะมีคุณ森田 (1990) (อ้างอิงใน 中野、1997) ที่อธิบายว่าて形มีหลายความหมายนะ ดังนี้

ประเภทความหมายตัวอย่าง
並列そして  顔が丸く背が高い
対比  一方夏は暑く、冬は寒い
同時進行ながら  手を挙げ横断歩道を渡ろうよ
順序てから  三べん回っ煙草にしよ
原因・理由ので  値段が高く買えない
手法・方法によって  わが身をつねっ人の痛さを知れ
逆接のに  仏造っ魂入れず
結果その結果  雨降っ地固まる

ซึ่งจจเนี่ยคิดว่า て形 ที่เป็นรูปคำสั่งมันคือ 順序 เพราะว่า คุณ 庵など (2000) เนี่ยก็จะบอกว่า เออเวลาออกคำสั่งนะใช้พวกรูป ~てください อะไรอย่างนี้นะ

ซึ่งมันก็จะประกอบกันได้ความหมายว่า “ทำอันนี้ๆๆๆๆเสร็จแล้วก็ เอามาให้ฉันนะ” (ください=くださる=くれる=ให้ฉัน)

อะเก เคลียร์

แล้วทีนี้ ~ましょう ล่ะ???

คือคุณ 庵など (2000) เนี่ย เขาก็จะพูดถึงว่า ~ましょう มันมีความหมายว่า 勧誘 (การเชิญชวน) คือ ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง เรามาทำสิ่งนี้ด้วยกันกันเถอะ

ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปที่งานวิจัยของคุณ Takahashi (2004) ก็จะพบว่า Imperative Sentence ของภาษาอังกฤษไม่มีความหมายของ Invitation (การเชิญชวน) อยู่ในนั้น5555555555

55555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

เอ้อแต่จจมองว่า คือที่คนญปเขาแปลให้เป็นความหมายของการเชิญชวนเนี่ย น่าจะเป็นเพราะเขามองบริบทของภาพยนตร์มากกว่าว่า เออคือชีก็จะเป็นเจ้าหงิงไง จะมาจิกหัวใช้ นังหนู นังแมลงสาบ นังนกพิราบ ทำความสะอาดเดี๋ยวนี้นะ มันก็ไม่ใช่ไง แล้วในหนัง ยัยเจ้าหงิงชีก็ทำความสะอาดร่วมไปพร้อมๆกันสัตว์ตัวเร้กตัวน้อยด้วย ดังนั้นมันก็ไม่ใช่คำสั่งซะทีเดียว แม้ว่ารูปภาษาจะแสดงออกมาแบบนั้นก็ตาม

ดังนั้นจะดีสุด ถ้าแปลออกมาว่า “มาด้วยกันเถอะ” ก็คือ ~ましょう นี่ก็คือสิ่งที่จจวิเคราะห์อะนะ

ดังนั้นมันก็จะย้อนกลับไปสู่ความงงตั้งแต่แรกของจจว่า “ถ้าเป็นจจอาจไม่ใช่รูป~ましょうเยอะขนาดนี้” ก็จะเห็นชัดว่ามันสืบเนื่องมาจากความต่างของภาษาอังกฤษ/ไทยกับภาษาญี่ปุ่นในเรื่องความต่างของประโยคคำสั่ง ดังนั้นหลังจากนี้ไปก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบกว่านี้ อะนะจ้ะ

.

5)สรุป

ก็สรุปได้ว่าเพลงนี้เป็นอีกเพลงที่แปลได้ดี น่ารักกรุบกริบ ตอนดูเอ็มวีอาจชวนอ้วกไปบ้างแต่ก็สดใสดี มีความตะลุยเรื่องของประโยคคำสั่งของภาษาไทยอังกฤษและญี่ปุ่น และจจก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของจำนวนรูปบ่งชี้คำสั่งที่ต่างกันของสามภาษาทำให้การแปลคำสั่งอาจมีความตะกุกตะกัก แต่ก็ได้เรียนรู้แล้ว1

สำหรับวันนี้ ก็ลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

เอกสารภาษาไทย

ทรูปลูกปัญญา. (ม.ป.ป). ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง ประโยคเพื่อการสื่อสาร. สืบค้น 6 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31469

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสารภาษาอังกฤษ

Clean. (n.d.). In Thesaurus.com. Retrieved May 6, 2020, from https://www.thesaurus.com/browse/clean

Imperative Sentences. (n.d.). Retrieved May 6, 2020, from E-Grammar Website, https://www.e-grammar.org/imperative/

Takahashi, D. (2004). The English Imperative: A Cognitive and Functional Analysis. 『北海道大学・博士(文学)乙第6255号』. Doi: 10.14943/doctoral.r6255

เอกสารภาษาญี่ปุ่น

庵功雄・高梨信乃・中西久実子・山田敏弘(松岡弘監修)「話し手の気持ちを表す表現(3)ー命令・依頼・勧誘ー」『初級を教える人のための日本語文法ハンドブック』スリーエーネットワーク、2000年。

「掃除」https://thesaurus.weblio.jp/content/%E6%8E%83%E9%99%A4(最終アクセス05/06/2020)

中野はるみ「「シテ形接続」をめぐってー付帯状態のシテ節」『別府大学紀要』39号、1997年12月。

เหงา นี่แหละเหงา นี่คือความจริงที่ได้เจอ

สวัสดีจ้ะ

โอ ข้าน้อยได้ข่าวมาว่า พสกนิกรของข้าน้อยฝ่าฟันมหันตภัยมาได้ และทุกท่านก็ยังคงแข็งแรง

ภาพจำลองพสกนิกร

ข้าน้อยสุขใจ

อย่างไรก็ดี วันนี้ข้าน้อยมาพร้อมกับบทเพลงแห่งความเป็นลูกผู้หญิง

อะไรนะ ใครรับบทรู้ทัน

ใช่แง้ว นั่นคือเพลง Reflection จากเรื่อง Mulan แบบสุดปังงงงงงงงงงงง

ข้าน้อยไม่ได้ถือตะเกียบจ้ะ

มัวรีรออยู่ไย ไปกันเลยยย

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

4)ภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

อังกฤษ https://www.youtube.com/watch?v=1_BtlAw4trg&feature=youtu.be

ไทย https://www.youtube.com/watch?v=C1kD_PVpvpI&feature=share

ญี่ปุ่น https://www.youtube.com/watch?v=vdnbJJvfM5w&feature=share

Look at me
I will never pass for a perfect bride,
or a perfect daughter
Can it be
I’m not meant to play this part?
Now I see,
that if I were truly to be myself,
I would break my family’s heart

Who is that girl I see,
staring straight back at me?    
Why is my reflection someone I don’t know?
Somehow I cannot hide
who I am,
though I’ve tried
When will my reflection show,
who I am, inside?
ตัวเรานี้
อาจจะเป็นเจ้าสาวแสนดีไม่ได้
คงจะอายทั้งครอบครัว
บทบาทนี้
ไม่ใช่ตัวของเรานี่นา
เพิ่งได้เห็น
หากจะเป็นตัวฉันอย่างทุกวันรอมา
คงจะพาครอบครัวต้องเศร้า  

ใครกันที่มองจ้องมา
สบสายตา
ไม่คุ้นเคย
เหตุใดมองดูไม่รู้เลยว่าคือตัวเรา  

ดวงใจไม่อาจซ่อนงำ
ทนฝืนทำ
ใครช้ำเท่า
จะมีไหมวันใดเห็นเงา
เป็นเช่นเราที่แท้

จะมีไหมวันใดเห็นเงา
เป็นเช่นเราข้างใน
ダメね
何のために生まれてきたの 私
役に立たない娘
分かる
ありのままの自分を
ごまかせないの

水に映る派手な姿
知らない人に見えるわ    
隠せないわ
自分らしさ
本当の私
いつの日か
必ず映る
いつの日か

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

เพลงนี้ข้าน้อยชอบมาก คือจริงๆถามว่าภาษามันสวยไหมก็สวยใช้ได้แหละ แต่ถ้าเทียบกับเพลงอื่นๆเพลงนี้ยังไม่ได้ว้าวเบอร์ใหญ่นะ แต่ที่ดือมากคือรับบทแปลได้ครบถ้วนกระบวนความมาก ถือว่างานนี้พี่สาวเก็บทุกเม็ดไม่ปล่อยพลาดจริงๆ

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

อ่า เอิ่ม อ่า

ส้มหยุด หยุดโดยไม่มีอะไรกั้น

ฉันโดนงูรัด

คือถ้าไม่ดูต้นฉบับ ข้าน้อยก็รู้สึกว่ามันเป็นบทเพลงที่งดงามมากเลยทีเดียว แต่พอดูต้นฉบับ ข้าน้อยก็จะหรี่ตาเล็กน้อย แบบ หืม

คือก็ไม่ได้ว่าแปลไม่ตรง แต่มันมีการ paraphrase ค่อนข้างเยอะ

อืม…

เอาเป็นว่า เขาคงชอบแบบนี้อะเนาะ ช่างมันเถอะ วะฮะฮ่า

.

3)เทคนิคการแปลที่น่าสนใจ

Secondary Sense Translation

กรณีศึกษา “see” “เห็น”「分かる」

เทคนิคนี้คืออะไร

มันคือว่า เอ้อเจ้าคำตั่งต่างเนี้ยะ ถ้ามันปรากฎเดี่ยวๆนะ มองปร๊าดดดเดียว รู้เลยมันแปลว่าไร

เช่น commercially sucessful มองปร๊าดดดเดียวรู้เลย ประสบความสำเร็จ (ในทางการค้า)

ไอ่เจ้าความหมายที่มองคำเปล่าๆปร๊าดดเดียวแล้วรู้เลยเนี่ย เรียก Primary Sense (ความหมายขั้นปฐมภูมิ)

แต่ทีนี้อย่าเพิ่งรีบใจร้อนแปลไปสหายข้า ลองดูบริบทก่อน

…and in later years, more commercially successful

เห้ย ไม่ใช่ “ประสบความสำเร็จ” แร้วสิ มันน่าจะอย่างนี้มากกว่า

…and in later years, more commercially successful

…และได้กำไรงามในเวลาต่อมา…

เพราะงั้นเนี่ย จะเห็นได้ว่า ความหมายที่เราคิดขึ้นมาได้เป็นความหมายแรกเนี่ย อาจจะไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป เมื่อเรามองบริบทแล้วเนี่ย เราจะเห็นว่ามันคือความหมายที่สองของคำๆนั้นตะหาก เรียก Secondary Sense (ความหมายขั้นทุติยภูมิ)

ซึ่งในเพลงนี้เนี่ย ก็จะเห็นเทคนิคการแปลตรงนี้ คือ

Now I see, that if I were truly to be myself, I would break my family’s heartเพิ่งได้เห็นหากจะเป็นตัวฉันอย่างทุกวันรอมา คงจะพาครอบครัวต้องเศร้า  分かる
ありのままの自分をごまかせないの

คือคำว่า see เนี่ยถ้าเห็นปุปแบบไม่มีบริบทปร๊าดดดแรกเลยเนี่ย Primary Sense คือ “เห็น”「見える」

แต่พอมองบริบทปุป เห้ยมันมั่ยชั่ย! มันคือ Secondary Sense “เข้าจัย” 「分かる」 ตะหาก!

เพราะงั้นเจ้าญปก็เลยแปลว่า 「分かる」

ส่วนของเจ้าไทยเนี่ย จริงๆจจว่ามันน่าจะเป็น “เห็นว่า” มากกว่ารึเปล่า แบบ

เห็น = 見える

เห็นว่า = 分かる

ไม่ใช่เหรอ…

คือจจคิดว่าเขาอาจมีปัญหาเรื่องจำนวนคำที่มันไม่พอ เลยจำใจต้องทำงั้นเพราะว่าคนฟังยังไงก็น่าจะสามารถเดาได้จากบริบทว่า “เห็น” ในที่นี้หมายถึง “เห็นว่า”

บางที นี่อาจเรียกได้ว่า Mistranslation (การแปลผิด) ก็ได้นะ

อุ้ย ไม่เอาๆๆๆ ไม่สาปใครๆ เดะโดนตี

เอาเป็นว่าจจคิดอย่างนี้ ใครเห็นต่างก็เม้นได้ไม่ติดโบโลน่าจ้า เชิญ

ทีนี้ จจก็ยังไม่จบ แอบสงสัยเล็กน้อยว่า ไอ่เจ้า “ว่า” ของ “เห็นว่า” เนี่ย มันคืออะไร

คือจจก็ไปส่องราชบัณฑิตยสถานมา เขาบอกว่ามันคือสันธานเชื่อมประโยค

ซึ่งก็เหมือนจะจริง แต่พอลองไปดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสันธานของพระยาอุปกิตศิลปสาร

จจรู้สึกว่ามันไม่ได้เข้าหมวดไหนเลยงะ

เลยไปดูตำราของคุณวิจินต์และคุณราตรีมา ก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ เขาบอกว่าคำในภาษาไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือคำหลักกับคำไวยากรณ์ และยังแบ่งย่อยๆต่อได้แบบนี้

เอิ่ม เยอะจัด

แต่เอาเป็นว่า จจคิดว่า “ว่า” น่าจะเป็นคำเชื่อมอนุพากย์ มากกว่านะ น่าจะครอบคลุมมากกว่าเนอะ

.

4)ภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจ

Female Language (ภาษาผู้หญิง)

ตัวอย่าง「ネ」「ワ」

วันนี้นี่มาแหวกแนว

คือปกติเนี่ย จจจะเอาไวยากรณ์เอยอะไรเอยของทั้ง 3 ภาษา (Contrastive Language) เพื่อที่ว่าเอ้อออ ถ้าเราเข้าใจความต่างของ 3 ภาษาเราจะเรียนมันได้ง่ายขึ้น

แต่วันนี้มาแหวกนิดนึง ขอไปสู่อีกศาสตร์หนึ่งของภาษาศาสตร์ประยุกต์เหมือนกัน คือ ภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics)

ซึ่งไอ่เจ้าภาษาศาสตร์สังคมเนี่ยก็จะมีสาขาย่อยๆอีกมากมาย วันนี้เราจะมาดูเรื่อง ภาษากับเพศ (Language and Gender) กันจ้ะ

คือมันเกิดมาจากว่าจจแอบเห็น「ネ」「ワ」ใช้ในเพลงนี้

ダメ
隠せない

จจก็คิดขึ้นมาเลยว่า เออเนี่ย มันคือภาษาผู้หญิงใช้เนาะ แบบเห็นก็รู้เลย

แล้วทีนี้ มันเลยอยากไปศึกษาว่าเอ้ย ภาษาผู้ชายผู้หญิงเอยมันยังไงง งี้

ก็พบว่ามันจะมีทฤษฎีพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนคืองี้

คือคุณอังกาบเนี่ยจะบอกเราว่าภาษาผู้ชายและภาษาผู้หญิงมันไม่เหมือนกัน ซึ่งมันมีความต่าง 2 ลักษณะ คือ

I Sex-Exclusive Differentiation คือ การกำหนดว่า อันนี้ผู้หญิงใช้ อันนี้ผู้ชายใช้ เช่น สวัสดีค่ะ (ผู้หญิง), สวัสดีครับ (ผู้ชาย), ダメね (ผู้หญิง), ダメだね (ผู้ชาย) 

II Sex-Preferred Differentiation คือว่า ผู้ชายกับผู้หญิงจะเลือกใช้ภาษาลักษณะต่างกัน เช่น ผชอาจจะพูดว่า great ผญอาจจะพูดว่า marvellous งี้

ซึ่ง งานวิจัยศึกษามากมาย เช่นคุณมณทิรา คุณเลคอฟ (1990) คุณนิธิ (2538) และอีกมากมายล้านแปดล้วนแล้วแต่จะสรุปให้กับเราคร่าวๆว่า

ภาษาผู้หญิงจะมีความนุ่มนวล อ่อนน้อม ประนีประนอม ส่วนภาษาผู้ชายคือดุดัน โผงผาง ตรงไปตรงมา ซึ่งที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากสังคมชายเป็นใหญ่ที่หล่อหลอมให้ผู้หญิงรู้สึกว่า ฉันต้องนุ่มนวล ฉันต้องยอม เพราะฉันอยู่ใต้เขา งี้อะจ้ะ

ซึ่งมันก็จะมีงานศึกษาอีกหลายๆงานที่พูดถึง “ลักษณะ” (Features) ว่าภาษาผู้หญิงมันมีจุดเด่นยังไง ก็ไปดูกันเลยต่ะ

4.1)ภาษาอังกฤษ

ก็จะมีคุณ Qi Pan ที่พูดถึง overview ของลักษณะภาษาผู้หญิงไว้ได้ครบมากกก สุดปัง คือเขาดูได้หลายด้าน ได้แก่ การออกเสียง, คำศัพท์, ไวยากรณ์, รูปแบบการสนทนา ก็จะมีรายละเอียดดังนี้ต่ะ

4.1.1)การออกเสียง

ผู้หญิงจะนิยมใช้เสียงสูง, ออกเสียงชัดเจนมาก, มีการใช้โทนเสียงที่แสดงออกถึงความนุ่มนวล

4.1.2)คำศัพท์

ผู้หญิงจะใช้คำคุณศัพท์ขยาย เช่น so, much, quite, มีการใช้คำคุณศัพท์ที่เกินจริง เช่น it’s a gorgeous meal, หลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบ, ใช้สำนวนแสดงการชื่นชมมาก

4.1.3)ไวยากรณ์

มีการใช้ Tag Question (รูปประโยคคำถามต่อท้ายเพื่อแสดงความไม่แน่นอน เช่น She’s not coming, is she?), มีการใช้สำนวนแสดงความไม่ฟันธง 100% เช่น I think

4.1.4)รูปแบบการสนทนา

ผู้หญิงจะไม่นิยมพูดเรื่องยานพาหนะ การช่าง กีฬา, หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องต้องห้าม (Taboo), พยายามเข้าถึงทุกคนเวลาสนทนาเป็นกลุ่มมากกว่าทำเหมือนตนเป็นผู้พูดเพียงคนเดียวและคนอื่นเป็นผู้ฟัง

โดยสรุปก็คือไม่ว่าจะด้านไหน ผู้หญิงก็จะใช้มีความประนีประนอมมากกว่านั่นเอง

4.2)ภาษาไทย

ภาษาไทยเนี่ย งานน๊อยยยน้อย แต่ก็จะมีอันนึงที่น่าสนใจ คือคุณมณทิราก็จะศึกษาว่า นิสิตของคุณเขาเวลาแสดงความเห็นในห้องเรียนเนี่ย ผู้ชายผู้หญิงแสดงความเห็นต่างกัน เลยศึกษาดูว่ามีรูปแบบยังไง ก็ได้ผลการวิจัยดังนี้

ซึ่งเขาก็จะอธิบายไอเดียว่า ผู้หญิงเนี่ยจะต้องประนีประนอม พยายามลดความขัดแย้ง พยายามที่จะไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ แต่ผู้ชายก็จะไม่ทำอะไรอย่างนั้นเพราะรับรู้ว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่า และมี “ทางเลือก” มากกว่าที่จะแสดงออกถึงอำนาจผ่านทางภาษา

งุ้ย น่าอัวจัง ไปต่อกันเถอะ

4.3)ภาษาญี่ปุ่น

ก็จะมีคุณ 小川早百合(2006)บอกเราว่าในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ภาษาผู้หญิงต่างจากภาษาผู้ชายถึง 10 ด้านด้วยกัน

ซึ่งคุณアンドリュー ก็จะอธิบายเราในเรื่อง呼称 และ 語彙 ว่าเนี่ยนะ ผู้ชายจะใช้ภาษาที่ 「ラフ」(หยาบกระด้าง) มากกว่าเลยแหละ เช่น

หรือถ้าเป็นอีกเรื่องคือ 終助詞เนี่ย คุณ張夢園 ก็วิจัยไว้แบบสุดปัง คือเขาศึกษาพวกคำลงท้ายต่างๆโดยใช้การ์ตูนตั้งแต่ปี 1967-2015 เป็นกรณีศึกษา แบ่งว่าคำไหนคือภาษาผู้หญิง คำไหนภาษากลาง คำไหนภาษาผู้ชาย แล้วมีปรากฎใช้มากน้อยแค่ไหนยังไง และสรุปออกมาเป็นตารางดังนี้

แล้วทีนี้ เขาก็เอาทั้งหมดมาสรุปเป็นกราฟดังนี้

แปลกราฟนี้ง่ายๆก็คือ ในปัจจุบัน มีการใช้ภาษาผู้หญิงน้อยลง และใช้ภาษากลางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ!!!

สุดปังงงงงง

คือเขาก็จะเล่าว่า อาจเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิกแนวคิด「良妻賢母」(จงเป็นภรรยาที่ดีและแม่ที่ฉลาด) มีการเพิ่มสิทธิสตรีต่างๆในกฎหมายมากขึ้น แนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศได้รับการยอมรับมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จึงสะท้อนออกมาในวัฒนธรรมกระแสนิยม (Pop Culture) นั่นเอง

.

5)สรุป

ก็จะสรุปได้ว่าก็เป็นอีกเพลงที่แต่งออกมาใช้ได้ จจอาจจะติดขัดกับการแปลของญปไปบ้างแต่ก็ไม่น่าเกลียด ส่วนของเทคนิคการแปลก็ได้เรียนรู้เทคนิค Secondary Sense Translation ในส่วนของภาษาวันนี้มาเรื่องภาษาศาสตร์สังคมเปรียบเทียบ 3 ภาษาในเรื่องของภาษาผู้หญิง ก็จะเห็นว่าไม่ว่าจะภาษาไหนก็มีลักษณะคล้ายกันคือผู้หญิงจะใช้ภาษาที่ไม่รุนแรง อาจเป็นเพราะสังคมชายเป็นใหญ่ แต่งานศึกษาของภาษาญี่ปุ่นก็ทำให้เราเห็นว่ามันไปในแนวโน้มที่เท่าเทียมกันมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็น่าจะมีหวังกับอนาคตที่ดีขึ้นได้ เนาะ

ก่อนจากไป ขอฝากเพลงนิดเดียวว

คือปีนี้เนี่ยจะมีการฉายภาพยนตร์มู่หลานฉบับ Live Action ซึ่งเดิมทีต้องฉายตั้งแต่ 27 มีนาคมแต่เพราะโบโลน่าระบาดเรยเรื่อนไปแบบไม่มีกำหนด…

อย่าได้แหยมกับข้าน้อย

แต่หนังเวอชั่นนี้มีเพลงประกอบที่เพราะมากกกกกชื่อ Loyal Brave True ร้องโดย Christina Aguilera ยังไงก็ไปฟังกันจ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=Qo8gX1Evay8

วันนี้ก็เหนื่อยแล้ว ลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

น้ำเพชร จินเลิศ. การจำแนกหมวดคำในตำราหลักไวยากรณ์ไทย. วรรณวิทัศน์,พฤศจิกายน 2549, 189-216.

ภาษาผู้หญิง: การศึกษาสมมติฐานของเลคอฟ. (2526) แปลจาก The Female Register แปลโดย อังกาบ ผลากรกุล.

Qi Pan. (2011). On the Features of Female Language in English. Theory and Practice in Language Studies, Vol. 1, No. 8, pp. 1015-1018, August 2011.

วิจินต์ ภาณุพงศ์ และ ราตรี ธันวารชร. ลักษณะคำไวยากรณ์ในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

アンドリュー・サイモン・バージ「日本語の男性語と女性語の違いについて」、広島大学。

張夢園「日本語の女性語についてー少女漫画に見る女性語の推移」、山口大学。

 มณทิรา ตาเมือง. ความเหลื่อมล้ำในการใช้ภาษาเพื่อการอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียนของนิสิตต่างเพศ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อย่าหาทำ

สวัสดีจ้ะ

ข้าน้อยได้ข่าวมาว่าพสกนิกรของข้าน้อยกำลังจะต้องเผชิญการทดสอบครั้งใหญ่หลวง

โอ ข้าน้อยเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน

อดทนเข้าไว้นะ อีกนิดเดียว

อีกนิดเดียวก็จะผ่านไปได้?

ป่าว อีกนิดเดียวก็ตายแล้ว55555555555

ฉันโอเคจ้ะ

อะ ยังไงใดๆ

ต้องขอนุญาตบอกกล่าวว่า จริงๆจจไม่ได้คิดจิเอาเพลงนี้มาใส่ในตอนแรก

คือจริงๆมันเคยอยู่ในลิสท์ แต่เอาออกไปนานแล้ว

แต่ก็เพราะว่ากลับมาชอบใหม่ ก็เลยเอากลับมา

งงปะ ไม่งงจะงงมาก

เอาเป็นว่า นั่นแหละ คือชอบ ก็เลยเอากลับมา

นั่นก็คือ I Won’t Say I’m In Love จากเรื่อง Hercules นั่นเองจย้าาาาาาาาาา

ช่างไฟต้องโดนไล่ออกแร้วนะ #SaveMeg

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

ภาษาอังกฤษ >>> https://www.youtube.com/watch?v=VafItV2bX7A&feature=youtu.be

ภาษาไทย >>> https://www.youtube.com/watch?v=09Gg1czbPpQ

ภาษาญี่ปุ่น >>> https://www.youtube.com/watch?v=F0khrmfhpek&feature=youtu.be

If there’s a prize for rotten judgement
I guess I’ve already won that
No man is worth the aggravation
That’s ancient history
Been there, done that

(Who d’you think you’re kidding
He’s the earth and heaven to you
Try to keep it hidden,
Honey we can see right through you
Girl you can’t conceal it
We know how you’re feeling
who you’re thinking of)

No chance, no way
I won’t say it, no no
(You swoon, you sigh, why deny it oh oh?)
It’s too cliche
I won’t say I’m in love

I thought my heart had learned its lesson
It feels so good when you start out
My head is screaming “Get a grip girl”
Unless you’re dying to cry your heart out

(You keep on denying
who you are and how you’re feeling
Baby we’re not buying
Hon we saw you hit the ceiling
Face it like a grown-up
When you’re gonna own up that you got got got it bad?)

No chance, no way
I won’t say it, no no
(Give up, but give in, check the grin you’re in love)
This scene won’t play
I won’t say I’m in love
(We’ll do it until you admit you’re in love)

You’re way off base I won’t say it
(She won’t say in love)
Get off my case I won’t say it
(Girl don’t be proud it’s okay you’re in love)
At least out loud I won’t say I’m in love
รางวัลที่ให้ดวงใจที่งมงาย
เราคงจะได้มันมาครอบครอง
มันคงไม่คุ้มต้องมาน้ำตานอง
อดีตนั้นพอทีน่าเบื่อลองแล้ว

(หลอกใครๆอย่าหลอกเรา
ดูก็รู้ว่ารักเขาเพียงใด
แอบยังไงก็ไม่มิด
เธอนั้นคิดเก็บเขาไว้ในใจ
ยอมรับซะอย่าปิดบัง
เรานั้นรู้คนไหน
ที่เธอเฝ้าคอยใฝ่หา)

ไม่เอา พูดไป
ได้อะไรคงแย่กว่า
(สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง อย่าปากแข็งสักนิดน่า)
ฉันอายเกินกว่า
เอ่ยออกมาว่ารักเธอ

ดวงใจอยากช้ำชอบทำซ้ำๆเดิม
เวลาเริ่มเราก็ดูเลิศเลอ
เตือนใจให้ยั้ง ระวังสักนิดเธอ
ถ้าหากเผลอไป อาจจะเจอแต่ความช้ำ

(หลอกตัวเองเก่งชะมัด
ดูเห็นชัดว่าศรรักมันปักจะให้เชื่อยังไงไหว
เธอสงสัยจะต้องอาการหนัก
โตแล้วนะอย่าทำไก๋
อีกเมื่อไร จะรับว่าเธอมีรัก รัก รักให้เขา)

ไม่พูดไม่บอก หลอกยังไงก็ไม่เอา
(รับมานะเออ แน่ะดูเธอยิ้มเธอรักเขา)
ละครเรื่องเก่า หลอกให้เรามาเคียงเธอ
(ท่าทางเธอ บอกว่ามีรักอยู่เต็มตา)

ชักไปกันใหญ่ จะไม่เอ่ยมา
(เธอไม่ยอมพูดล่ะ)
เลิกยุ่งกวนใจ บอกไม่ได้หนา
(เรื่องธรรมดา บอกออกมาเลยว่าใช่)
คิดเพียงในใจ
ไม่บอกใครว่ารักเธอ
信じて騙されて
悲しい目に遭った
男なんて懲り懲り 
あんな思いもうイヤ

「ヘラクレスに恋してるくせに
嘘ついてもハニーお見通しよ
分かってるわ
今何考えてるか」

  冗談でしょ 
言えないノー・ノー
「ため息 
なぜなのオ・オー」
バカらしい
恋してないわ

分かっているはずよ
胸の傷 痛む
心張り裂けそうよ 
泣くのだけはもうイヤ      
「隠さないで
貴方の気持ちを 
ベイビーそろそろ 
大人になるのよ 
心のまま
ぶつかってごらん
さぁさぁ早く」

冗談でしょ
言えないノー・ノー
「ホラ見てこれは恋よ」
もうやめて恋してるなんて
「意地っ張りな子ね恋よ」

悪いけど言えないわ
「言わないな」
絶対言わないわ
「ムキにならないで恋よ」
ほんとはね
I won’t say I’m in love

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

ต้องบอกเลยว่า รักเนื้อเพลงภาษาไทยมากกกกกกกกกก คือมันน่ารัก กุ้กกิ้กดุ้กดิ้กอะฮึ่มงุ้ยงุ้ยงุ้ยตุกุตุกุมุแงๆมว้ากกกกกกกกกกกก แบบ เออคือฟังรอบแรกเนี่ย เหมือนดูละครไทยฉบับปี 2540 ไรงี้เลยงะ คือเป็นภาษาพูดที่ให้อารมณ์เก่าๆนิดนึง ซึ่งก็น่าจะถูกแหละเพราะเพลงนี้ออกมาในปี 1997 แต่เออมันน่ารักงะ ชอบมากกกก

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

ชอบอยู่นะ แต่รู้สึกแบบ เหมือนเนื้อเพลงมันมีความเป็นเหมือนก้อนๆของวลีและประโยคพอสมควร แบบรู้สึกมันมีความ disconnected อะ ไม่รู้สิบอกไม่ถูก แบบพอมองต้นฉบับแล้วจะรู้สึกว่ามันดูเป็น an integrated piece ที่เรียงร้อยไว้อย่างแน่นหนา แต่อันนี้แบบ ความสัมพันธ์ของแต่ละวลี/ประโยคในเพลงมันไม่ได้แน่นแฟ้นขนาดนั้น แบบแอบมีกลิ่นของ 意識の流れ (Stream of Consciousness) แปลกๆ แต่ก็เก๋ดี ชอบๆ

.

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

การแปลความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง (Implicit to Explicit Translation)

การแปลจากสำนวนเป็นภาษาธรรมดา (Idioms to Common Expression Translation)

การแปลสรรพนาม (Pronoun Translation)

กรณีศึกษา “He’s the earth and heaven to you” “รักเขา”「ヘラクレスに恋してる」

คือต้องเล่าว่า ในประโยคสั้นๆเนี่ย มันมีเทคนิคการแปลล้นหลามมว้ากกกกก คือจจมองว่ามี 2 เทคนิคที่ใช้แน่คือ การแปลความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง และ การแปลสรรพนาม แต่อีกอันหนึ่งคือ การแปลจากสำนวนเป็นภาษาธรรมดา เนี่ย ต้องถกเถียงเร้กน้อย แต่ว่านะ ไปทีละอันก่อนละกัน

3.1)การแปลความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง (Implicit to Explicit Translation)

เทคนิคนี้คืออะไร

มันคือเทคนิคที่ว่า พอแปลออกมาแล้วเนี่ย ใช้คำ/การอธิบายที่ทำให้ความหมายมันชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ก็คือนางต้นฉบับภาษาอังกฤษเนี่ย จะแสดงความงง คือพูดไม่ได้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร มีความสำบัดสำนวน “เขาเป็นเหมือนทั้งโลกและสวรรค์สำหรับเธอเลยนะ” งี้1

Who d’you think you’re kidding
He’s the earth and heaven to you
หลอกใครๆอย่าหลอกเรา
ดูก็รู้ว่ารักเขาเพียงใด
ヘラクレスに恋してるくせに

ซึ่งมันก็อาจไม่ชัดไงว่าหมายถึงไร เออ คนฟังก็ต้องมีการใช้สมองนิดนึงว่า เอ๊ะ แปลว่าไรนะ แต่ยัยภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่นคือปังมาก คือเฉลยเลยจ้ะ “รักเขา” 「ヘラクレスに恋してる」เออ เริส มันได้ ไอเริ้บเอเนอจี้ คือ ไม่ต้องมาเล่นคำเล่นลิ้นอะไรทั้งนั้น รักก็บอกว่ารัก จบปึ้ง

นั่นแหละ ก็ไม่มีไร คือถ้าถามว่ามันทำให้รสชาติทางภาษาเสียไหม ก็อาจจะ แต่มันก็อาจจะเข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่านภาษาปลายทางอะเนาะ

1.2)การแปลจากสำนวนเป็นภาษาธรรมดา (Idioms to Common Expression Translation)

คือพี่สาวอันนี้เนี่ยมันคือว่า ต้นฉบับเนี่ย มันคือสำนวน แต่พอแปลออกมาปุป คุณก็ทำให้มันเป็นภาษาธรรมดาไปซะ เช่น

Not that this short journey was a picnic

แต่ใช่ว่าการเดินทางสั้นๆนี้เป็นเรื่องง่ายในฤดูหนาว

เงี้ยอะจ้ะ

แต่สำหรับกรณีศึกษาของเราเนี่ย มันไม่ใช่ซะทีเดียว

คือ to be the earth and heaven to someone เนี่ย มันไม่ใช่สำนวนปกติในภาษาอังกฤษ อันที่เป็นสำนวนปกติในภาษาอังกฤษคือ to move the earth and heaven

to move the earth and heaven >>> to do everything you possibly can in order to achieve something (Oxford Lerner’s Dictionaries, 24/04/2020)

(เคลื่อนโลกและสวรรค์ >>> ทำทุกอย่างที่จะสามารถทำได้เพื่อบรรลุเป้าประสงค์บางอย่าง)

ซึ่ง he’s the earth and heaven to you ในเพลงนี้อะ มันเป็นสิ่งที่ผู้แต่งเพลงคิดขึ้นมาเอง แต่จจเห็นว่า มันก็ based on สำนวนที่มีอยู่แล้ว คืออย่างนี้

To move the earth and heaven = to do everything

He’s the earth and heaven = he’s everything

เก็ทยัง

เออ เพราะงั้นเลยอยากที่จะยกเทคนิคการแปลแบบ Idioms to Common Expression Translation มาให้ได้รู้จักกันเจ๋ยๆ แต่ถ้าถามว่ามันใช่สำนวนไหม มันก็ไม่ใช่หรอก แต่ก็มีความเกี่ยวข้องที่พอจะยกมาพูดได้ อะนะจ้ะ

1.3)การแปลสรรพนาม (Pronoun Translation)

คือปกติเนี่ย ถ้าต้นฉบับเขาใช้สรรพนามมา เราก็จะใช้ตามถูกมะ แต่มันจะมีบางครั้งที่ ถ้าแปลเป็นอย่างอื่น มันจะเหมาะสมมากกว่า เขาก็จะทำกัน เช่น

He continued his work for most of his years as ruler

พระองค์ทรงงานต่อตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง

เงี้ยจ้ะ

ซึ่งในเพลงนี้คือ He→ヘラクレス

แต่จจมีความเห็นว่า เขาไม่ได้แปลสรรพนามเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นอะไรหรอก เพราะในบริบทของภาพยนตร์มันก็เข้าใจอยู่แล้วว่า he/เขา/彼 ก็คือหมายถึง ต้าวเฮอคิวเฮอคิว งะ

แล้วยิ่งอย่าลืมนะว่าภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ละประธานเก่งมากกกกก ไม่มีทางที่จะไม่เข้าใจว่า 彼 จะหมายถึงอะไร (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการละประธานที่บล็อกตื่นเถิดชาวไทยอย่ามัวหลับไหลลุ่มหลง)

ดังนั้นจจมองว่า ในเพลงนี้เขาแปลสรรพนาม อาจเพื่อให้มันสอดรับกับส่วนแปลอื่นๆของเพลงเฉยๆนะ ไม่ได้แปลว่าเพราะว่าถ้าไม่แปลจะงงอะไรอย่างนั้นหรอก

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

Progressive Aspect

กรณีศึกษา “We know” “เรารู้”「分かってる」

We know how you’re feeling,
who you’re thinking of
เรานั้นรู้คนไหนที่เธอเฝ้าคอยใฝ่หา分かってるわ、今何考えてるか

คือมันเริ่มจากข้อสังเกตที่ว่า ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ テイルทั้งที่ๆภาษาอังกฤษและภาษาไทยก็ยังใช้คำกริยาปกติ ก็เลยงงว่า จะใช้บ้างได้ไหม อะไรยังไง

ก็เลยไปค้นมาจ้ะ

เอาเป็นว่า ไปดูกัน ทีละภาษา แต่ขอเริ่มจากญี่ปุ่นก่อน เพราะเราสงสัยยัยญปก่อน

4.1)ภาษาญี่ปุ่น

คือภาษาญี่ปุ่นเนี่ย มันจะมี aspect (อ่านเรื่อง Aspect เพิ่มเติมได้ที่บล็อกดอกฟ้ากับหมาวัด)

ซึ่งคุณอัษฎายุทธเนี่ยบอกเราว่า aspect ภาษาญี่ปุ่นมีหลายอัน หนึ่งในนั้นคือ テイル ซึ่งคุณ金田一เนี่ย ก็จะบอกเราว่ามันใช้ได้ 4 แบบ

ซึ่งไอ่เจ้า 分かってるในเพลงนี้ของเราเนี่ย ก็คือแสดงความต่อเนื่องของสภาพหลังการกระทำ

อะ ไปดูภาพปลากรอบเพื่อความปัง

คือตอนแรกเนี่ย ยังไม่ได้เข้าใจ 100% หรือยังไงเงี้ย ก็จะว่า 分かる แต่พอมันถึง ณ จุดหนึ่งของเวลาที่ฟีลแบบ คลิก แบบ ตรัสรู้ แบบ อ๋อเกทแล้ว! เงี้ย มันก็จะใช้ 分かった ซึ่งไม่ได้แสดงความเป็นอดีต แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงว่า ณ ตอนนี้คือเข้าสู่ state of understanding แล้วนะจ้ะ แล้วหลังจากที่เข้าสู่สภาพของการเข้าใจแล้ว ก็อยู่ในสภาพนั้นมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ก็เป็น 分かっている งี้อะจ้ะ

เออเริส ปัง อะไปดูภาษาอังกฤษ

4.2)ภาษาอังกฤษ

คือพี่สาวอิ้งเนี่ย ก็มี progressive aspect ที่แสดงความต่อเนื่อง (持続) คล้ายๆพี่สาวญปเหมือนกัน

ซึ่งวิธีการเปลี่ยนให้เป็น progressive aspect ก็คือการผันกริยาเป็น ing แต่ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่คำกริยาทุกคำจะผันได้นะ

คือพี่สาวอิ้งจะบอกว่า กริยาสามารถแบ่งได้เป็น

I กริยาแสดงการกระทำ (Dynamic Verb) เช่น eat, walk

II กริยายแสดงสภาพ (Stative Verb) เช่น love, know

ซึ่งเขาจะบอกว่า พวก dynamic verb คือ ing ได้ไม่ติด แต่พวก stative verb มันก็จะยากเพราะ ing มันมีเซนส์ของการเปลี่ยนแปลง ของการขยับ ของmovement แต่ stative verb มันจะมีเซนส์ของความนิ่ง ความไม่เปลี่ยน เงี้ย

เออแต่มันก็ไม่ใช่ stative verb จะไม่สามารถเติม ing ได้เสมอไป คือมันก็ได้บ้าง ซึ่งคุณ Huddleston (2002) ก็บอกเราไว้ว่ามันใช้ได้แบบนี้

และเราจะเห็นว่า know เนี่ย มันดูไม่ค่อยจะเข้ากับกฎข้อไหนเท่าไหร่เลย ดังนั้น we know ในเพลงของเรา ถ้าจะมาให้เป็น we’re knowing เนี่ย จจว่าก็ยาก

ซึ่งคุณ Belli (2017) เนี่ย ก็จะอธิบายเราเสริมด้วยว่า หนังสือเรียนภาษาอังกฤษหลายๆเล่มก็จะบอกว่า stative verb แม้จะเติม ing ได้ แต่ก็มักเป็นคำกริยาแสดงอารมณ์ (Emotion) อย่างเช่น like, love ส่วนกลุ่มคำกริยาแสดงการรับรู้ (Cognition) เช่น know หนังสือหลายๆเล่มก็จะไม่ยอมรับเงี้ย

ดังนั้นก็จะสรุปได้ว่า มันอาจจะพูดได้ว่า we’re knowing แต่มันยากมาก และเจ้าของภาษาอาจไม่ยอมรับ นะจ้ะ

4.3)ภาษาไทย

ทีนี้ในส่วนของน้องสาวไทย ก็จะบอกได้ว่า ถ้าอยากจิมี progressive aspect ก็ทำได้ด้วยการใช้คำว่า “อยู่” หรือ “กำลัง”

ทีนี้ ถ้าลองบอกว่า

เรารู้อยู่ >>> ก็โอเคนะ ไม่น่าเกลียด

เรากำลังรู้ >>> หืมมมมมมมมมมมมม พูดได้เหรอ???

เออ ก็งงไง แบบ แล้วพลอยไพลินจะเป็นไหม

ก็เลยไปค้นมาจ้ะ

คุณ Thiengburanathum (2013) ก็จะบอกเราว่า คำว่า อยู่ เนี่ย มี 4 ความหมายในภาษาไทย ได้แก่

ซึ่งจจ ไม่แน่ใจว่า รู้อยู่ มันจะจัดในประเภทไหนระหว่าง ระยะเวลา กับ จุดของเวลา55555555

แต่ก็คงสักอย่างอะแหละ ไม่ก็ทั้งสองอย่าง ใครรู้บอกทีจ้า

แต่เอาเป็นว่า เออ ก็จะเห็นว่า รู้อยู่ เนี่ย พูดได้จริงๆ คือเป็นสภาพที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาแล้วมีความต่อเนื่อง งี้

ทีนี้คำว่ากำลังล่ะ?

คุณ Thiengburanathum ก็จะอธิบายต่อว่า กำลัง มันแสดงถึงความต่อเนื่องเหมือนกัน

อ่าว งั้นก็ต้องพูดว่า กำลังรู้ ได้สิ ถูกมะ

อืมมม ก่อนที่จะไปถึงข้อสรุปตรงนั้น จจว่าเราต้องเข้าใจความต่างของ อยู่ และ กำลัง ผ่านตัวอย่างนี้ก่อน

ช่วงนี้ดวงกำลังตก VS ช่วงนี้ดวงตกอยู่

คุณผู้ชมรู้ไหมว่ามันต่างกันยังไง???

อะ ไปดูเฉลย

ภาพซ้าย (a) คือ ดวงกำลังตก และภาพขวา (b) คือดวงตกอยู่

คือจะเห็นว่า กำลัง เนี่ย มันจะแสดงmovementมากเลย แบบอยู่ที่ slope แล้ว กำลังตกแล้ว ช่วยด้วยจ้าพี่สาว ซึ่งตรงนี้คุณ Thiengburanathum สันนิษฐานว่า คือคำว่ากำลังมาจากภาษาเขมรที่แปลว่า energy ดังนั้นมันเลยมีเซนส์ของพลังและการเคลื่อนไหวอยู่งี้ (Dynamic)

เออแต่คำว่าอยู่ มันแสดงถึงสภาพเฉยๆที่นิ่งๆงะ มันมีความไม่เปลี่ยนแปลง (Unchanging)

ดังนั้นคำว่า รู้ ซึ่งเป็น stative verb เนี่ย มันก็จึงใช้กับคำว่า อยู่ ได้ เพราะมันมีเซนส์ของความสภาพ ความนิ่งเหมือนกัน แต่ใช้กับ กำลัง ไม่ได้เพราะคนนั้นจะมาแบบ 勢いงี้อะจ้ะ

แต่คุณ Thiengburanathum ก็อธิบายไอเดียที่คล้ายๆภาษาอังกฤษเหมือนกันว่า ไม่ใช่ว่า stative verb จะไม่สามารถใช้กับคำว่า กำลัง ไม่ได้เสมอไป ถ้าเกิด stative verb ตัวนั้นในบริบทนั้นมีเซนส์ของการเปลี่ยนแปลง ก็ใช้ได้ เช่น

วันนี้ อากาศกำลังดีเลย ไม่ร้อนไปไม่หนาวไป

คือตรงนี้อะ มันเปลี่ยนง่าย เพราะถ้าเจ้าอุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแค่นิดเดียวปุปจนร้อนขึ้นหรือหนาวลง มันก็จะเปลี่ยนสภาพจาก ดี→ไม่ดี ได้แล้ว

เออแต่คำว่า รู้ มันไม่ได้เปลี่ยนง่ายขนาดนั้นไง ก็เลยใช้ได้ยาก คือไม่ได้บอกว่าใช้ไม่ได้นะ คุณThiengburanathum บอกว่ามันเป็นที่ยอมรับน้อยกว่า (Less acceptable) และเจ้าของภาษาบางคน (เช่นจจ) ก็อาจจะไม่ยอมรับ เงี้ยอะจ้ะ

.

5)สรุป

ก็จะเห็นว่า เพลง I Won’t Say I’m In Love ก็เป็นอีกเพลงที่แปลได้ดี มีความน่ารัก ก็จะเห็นเทคนิคการแปลความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง/สำนวนเป็นภาษาธรรมดา และการแปลสรรพนาม ในส่วนของไวยากรณ์ก็ตะลุย progressive aspect ของทั้ง 3 ภาษาว่าด้วย テイル, -ing, อยู่/กำลัง ซึ่งมันมาก

ก็ก่อนจากไปก็ขออนุญาตฝากเพลง

คือจริงๆที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นบล็อกว่าตัดสินใจเอาเพลงนี้กลับมาเขียนเพราะกลับมาชอบ

คือช่วงนี้เนื่องจากโบโลน่าระบาด ก็เลยทำให้เหล่าดาราศิลปินอยู่บ้าน และผลิตคอนเทนท์ออนไลน์ออกมากันเยอะ หนึ่งในนั้นคือโปรเจกต์ Disney Family Singalong ที่จะเอานักร้องดังๆมาร้องเพลงดิสนีย์แล้วลงยูทูป ซึ่ง Ariana Grande ก็มาคัฟเวอร์เพลง I Won’t Say I’m In Love ไว้ดีดือมากกกกกกกก ยังไงก็ลองฟังดูจ้ะ

สำหรับวันนี้ ก็ขอลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

Huddleston, Rodney. (2002). The Verb. In Rodney Huddleston, The Cambridge Grammar of the English Language (pp. 71-212). Cambridge University Press.

หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Belli, Serap Atasever. (2017). An Analysis of Stative Verbs Used with the Progressive Aspect in Corpus-informed Textbooks. English Language Teaching, 11, 120-135. doi: 10.5539/elt.v11n1p120

Thiengburanathum, PRANG. (2013). THAI juu AND kamlaŋ: WHERE TENSE AND ASPECT MEET. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society (JSEALS) 6: 158-188.

อัษฎายุทธ ชูศรี. ประเด็นที่ ๕ ระบบประโยคในภาษาญี่ปุ่น. แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

ลมมมมพัดตึ้ง!ตึ้งๆๆๆๆๆๆๆๆ!

สวัสดีจ้ะพี่สาว ยังสบายดีกันอยู่ไหมเอ่ย

เวลานี้ศตวรรษที่ 21 ช่างมืดมนและเลวร้าย

อา ตอนนี้พี่สาวอเมริกาก็มีผู้ติดเชื้อโบโลน่าเยอะเหลือเกิน

ชั่ย

วันนี้เราจะมาพูดถึงทวีปอเมริกาเหนือกัน

ไปกันเลยจ้ากับเพลง Colors of the Wind จากเรื่อง Pocahontus จ้าพี่สาววววว

ลอรีอัล ปารีส

สารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นอังกฤษ https://www.youtube.com/watch?v=O9MvdMqKvpU

เวอร์ชั่นไทย https://www.youtube.com/watch?v=v02cqYb1gns

เวอร์ชั่นญี่ปุ่น https://www.youtube.com/watch?v=fX-XQnzhmjg&t=134s

You think I’m an ignorant savage
and you’ve been so many places
I guess it must be so
But still I cannot see
if the savage one is me
how can there be so much that you don’t know?
You don’t know    

You think you own whatever land you land on
The Earth is just a dead thing you can claim
But I know every rock and tree and creature
has a life
has a spirit
has a name  
You think the only people who are people
are the people who look and think like you
But if you walk the footsteps of a stranger
you’ll learn things you never knew
you never knew  

Have you ever heard the wolf cry to the blue corn moon
or asked the grinning bobcat why he grinned?
Can you sing with all the voices of the mountain?
Can you paint with all the colors of the wind?
Can you paint with all the colors of the wind?    

Come run the hidden pine trails of the forest
Come taste the sun sweet berries of the Earth
Come roll in all the riches all around you
And for once, never wonder what they’re worth  
The rainstorm and the river are my brother
The heron and the otter are my friends
And we are all connected to each other
in a circle, in a hoop that never ends      

How high does the sycamore grow?
If you cut it down, then you’ll never know

And you’ll never hear the wolf cry to the blue corn moon
For whether we are white or copper-skinned
we need to sing with all the voices of the mountain
We need to paint with all the colors of the wind
You can own the Earth and still
all you’ll own is earth until
You can paint with all the colors of the wind
จิตใจคงจะคิดข้าเป็นคนป่า
คงผ่านมามากมายและหลายถิ่น
ทุกแดนดินใหญ่ไพศาล
แต่แล้วไม่วายแปลกใจ
เพราะข้านี้เป็นคนป่าไง
มีอีกเท่าไหร่ท่านนั้นไม่รู้มากมาย
รู้ไม่จริง

จับจองทุกหนไม่ว่าแห่งใดท่านย่างเหยียบ
แผ่นดินนี้นั้นมันง่ายดายจะไขว่คว้า
แต่หินทุกทุกกอง และพฤกษา กับผองสัตว์
มีทั้งนาม
และมีชีวิต
แทบทุกสิ่ง
หากเป็นมนุษย์ที่สมดัง
เหมือนท่านตั้งจิต
มีความคิดในแนวเดียวกันที่รู้
วันไหนท่านพร้อมจะเดินตามในรอยเท้าใหม่
จะพบพานกับสิ่งงดงามไม่อาจเคยเจอ

จากเสียงร้องระงมดังก้องถึงจันทร์ที่ส่องบนโน้น
จนแม้เสือน้อยทำไมจึงได้ฉีกยิ้ม
แต่ท่านร้องพร้อมเสียงกังวานจากหุบเขายิ่งใหญ่
และแต่งเติมสีสันในสายลมได้หมดไหม
โปรดแต่งเติมสีสันอันงดงามแห่งสายลม

ปล่อยใจหลงใหลไปตามความงามทิวสนเถิด
กับชิมลิ้มรสพันธุ์เบอร์รี่หวานฉ่ำนี้
ความสมบูรณ์เราจะพบมัน ณ ทุกหนแห่ง
และครั้งนึงไม่เคยมองเห็นว่าสำคัญ
เปรียบพายุฝนและสายชลเป็นดุจญาติสนิท
หมู่มวลมิตรนั้นคือวิหคและสัตว์น้ำ
ความสัมพันธ์อันประทับจิต สร้างสิ่งแสนสุข
จะหมุนเวียนผ่านจะหมุนไปไกลสุดปลายทาง

หากแม้นโค่นต้นไม้ลงก่อน
อาจจะไม่รู้เลยว่ามันสูงเพียงใด

และคงไร้เสียงครวญครางถึงจันทร์ที่สาดส่องบนโน้น
ถึงสีผิวของคนเราจะเป็นอย่างไร
โปรดจงร้องพร้อมเสียงกังวานจากหุบเขายิ่งใหญ่
และแต่งเติมสีสันในสายลมให้สดใส
สุดดินแดนแม้แสนจะไกล
อาจได้ครองไว้หมดเพียงแม้
จิตใจนั้น
งดงามดั่งสายลมเพียงอย่างเดียว
なんにも知らないってゆうけど
なんにも見たことないってゆうけれど
なんにもかもが分かるとゆうの
知らないことばかりよ 
そうでしょう
 
あなたが踏むこの大地を
よく見てごらんなさい
岩も木もみんな生きて
心も名前もあるわ
     
あなたが知らない世界
知ろうとしてないだけ
見知らぬ心の扉
開けてのぞいて欲しいの
     
蒼い月にほえる狼と
笑うヤマネコの歌
あなたにも歌えるかしら
風の絵の具は何色?
風の絵の具は何色?
             
森の小道かけぬけて
甘いイチゴはいかが
自然が与えてくれる
愛に身をまかせるの
     
みんな友達いつでも
鳥もカワウソたちも
命は関わりをもつ
丸くて永遠のもの
         
あの木の高さ
もし切れば分からない

月と喋る狼の声
あなたには聞こえない
山の声と歌を歌って
風の絵の具で絵を描く
そして初めて答えがわかる
風の色は何色か

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

ภาษาดี ภาษาประณีต สวยงาม แต่ แต่ มีหลายท่อนมากเรยงะที่จจฟังแล้วไม่เข้าใจ มาอ่านเนื้อร้อง ก็ยังไม่เข้าใจ5555555555 คือถ้าเป็นภาษาอังกฤษรู้สึกเก็ททุกคำทุกประโยคเลย  แต่ภาษาไทยคือแบบ งง แปลว่าไร เอามาเทียบกับภาษาอังกฤษก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง คือคิดว่าเขาเน้นความงามของเสียงของภาษาอาจจะมากไปหน่อยสำหรับเพลงนี้นะ คือเพลงนี้มันกำลังส่งสารที่สำคัญและเป็นธีมหลักของเรื่องนี้เลย แล้วคนดูคือ ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง คือจบแล้วหรือเปล่า นี่จจไม่ได้สาปนะก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

แปลก็โอเค คือแปลได้เข้าใจ ภาษาสวยงาม แต่แปลไม่ครบของภาษาอังกฤษนะ บางอย่างนี่คือแบบ touchหัวใจจจมาก แต่ภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้แปลมาให้เรา เช่น

“…You can own the Earth and still all you’ll own is earth…”

>>>เธออาจจะครองโลก (Earth) ได้ แต่เธอก็ได้ไปแค่ก้อนดิน (earth) (ที่ไร้ชีวิต)

เงี้ย

คือมันเป็นท่อนที่สวย มีการเล่นคำ เออแต่ภาษาญี่ปุ่นก็แปลออกมาไม่ได้ (ที่จริงภาษาไทยก็แปลไม่ได้5555555)

ซึ่งอะ ยาวนิดนึง แต่จะเล่าว่าทำไมแปลยาก

คือ Longacre (1983) เนี่ย บอกเราว่า ภาษามีสองระดับ คือ

I โครงสร้างผิว (Surface Structure) คือ โครงสร้างของรูปภาษา

II โครงสร้างที่อยู่ในความคิด (Notional Structure) คือ โครงสร้างของความหมาย

งงอะดิ อะ ยกตัวอย่างสถานการณ์

เช่น ตำรวจไปเจอยายคนหนึ่งนั่งตัวสั่นอยู่ ตำรวจเลยพูดว่า

“ยายๆ ยายเป็นอะไร” นี่คือ โครงสร้างของรูปภาษา (โครงสร้างผิว)

แต่ความหมายคือ “ยายเป็นอะไรทำไมตัวสั่น” นี่คือ โครงสร้างของความหมาย (โครงสร้างที่อยู่ในความคิด)

คือสิ่งที่เราพูด มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เราหมายถึงตลอดเวลางะ แต่ในฐานะนักแปล คุณต้องดึงเอาโครงสร้างที่อยู่ในความคิดขึ้นมาที่พื้นผิวให้ได้งะ

แต่ ณ เวลานี้อะ ยัย Earth (โลก) กับ earth (ดิน) มันเป็นลักษณะที่ รูปกับความหมายมันหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันไป ก็เลยแยกองค์ประกอบไม่ได้ อะนะจ้ะ

.

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

Particularization/Generic to Specific Translation

Generalization/Specific to Generic Translation 

อะ ไปทีละอัน

3.1) Particularization/Generic to Specific Translation

กรณีศึกษา “Berries” “เบอร์รี่” 「イチゴ」

คือเพลงนี้อะ มันเป็นเพลงที่โดยรวมเนี่ย ยัยนางเอกโพคาฮอนทัสเนี่ย เป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน แล้วเจ้าพระเอกเนี่ย เป็นคนยุโรปที่อพยพมาเมกา ยัยโพคาโพคาก็เลยแนะนำบ้านเมืองชีให้รู้จัก

เพราะฉะนั้นเนี่ย มันก็เลยปรากฎชื่อคนสัตว์สิ่งของที่ native to North America เยอะมาก แล้วแบบ ต้องแปลมาเป็นไทยเอยญี่ปุ่นเอย ซึ่งเราก็คือเอเชียหัวดำเคี้ยวข้าวงะ แบบก็จะไม่รู้จักต่างๆ

เพราะงั้นเงี้ย ก็เลยมีการ employ เทคนิคการแปลต่างๆมาเยอะ

อันแรกที่เราจะแนะนำคือ particularization ง่ายๆก็คือ พอแปลออกมาแล้วเนี่ย ใช้คำที่มีความหมายแคบลง

Berriesเบอร์รี่イチゴ

คือภาษาไทยเนี่ย ตัดไป เพราะแปลตรงตัว แต่พี่สาวญปทำไมแปลว่า イチゴอะ

Berries ชุ่มฉ่ำ
イチゴ หวานๆ

คือเบอร์รี่มันเป็นประเภทใหญ่ มีหลายชนิด ซึ่ง イチゴ เป็นแค่หนึ่งในนั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าแปลมาแล้วใช้คำที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นอย่างเงี้ย ก็คือ Particularization

ซึ่งก็ไม่ทราบเหมียนว่าทำไมถึงไม่แปลว่า ベリー ไปเลย หรือว่าตอนที่เพลงนี้ออก (1995) คนญี่ปุ่นยังไม่ค่อยนิยมเบอร์รี่ แจงก็ไม่รู้ แจงก็ไม่รู้ อยากรู้ต้องไปถามเทวดา

3.2Generalization/Specific to Generic Translation 

อันนี้ก็จะสลับกัน คือเมื่อกี้แปลให้เล็กลง ให้ความหมายเฉพาะเจาะจงมากขึ้น อันนี้คือแปลให้ความหมายกว้างขึ้น เช่น heron เนี่ย คือเป็นนกชนิดหนึ่งเลย เขาก็แปลแบบกว้างๆเอาว่า วิหค, 鳥 งี้

ซึ่งอันนี้ค่อนข้างเข้าใจง่าย คือคนไทย/คนญปไม่ได้รู้จักนก heron อะ ก็ต้องเปลี่ยน แค่นั้นเอง

heronวิหค
otterสัตว์น้ำカワウソ
sycamoreต้นไม้

แต่ว่าอย่างบางอันในเพลงนี้ที่จจว่าจริงๆมันแปลได้ แต่เขาจงใจ generalize เพื่อความลงล็อกของจำนวนคำ ของจังหวะเสียงไรงี้ เช่น

rockหิน
treeพฤกษา
pineสน

ซึ่งจจชอบเทคนิค generalization เป็นการส่วนตัว คือถ้าแปลอะไรที่ผู้อ่านปลายทางไม่รู้จัก ก็ generalize มันไปเลย จบ555555 แต่ก็นะบางคนก็อาจจะชอบๆ cultural substitution ก็ได้ (ดูเพิ่มเติมบล็อกสโนน้อยเรือนงาม ) ก็ว่าไป

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

Preposition, คำบุพบท, 助詞

กรณีศึกษา “to” “ถึง” 「に」

คือทั้งสามคำอะ มันเข้าใจง่ายนะในเชิงความหมาย แต่ในเชิงไวยากรณ์ มันมีความซับซ้อน สับสน ไม่งงจะงงมาก อยู่เล็กๆ ซึ่งถ้าเอา 3 ภาษามาเทียบนะ จะเห็นชัดมาก

Have you ever heard the wolf cry to the blue corn moon?จากเสียงร้องระงมดังก้องถึงจันทร์ที่ส่องบนโน้น蒼い月ほえる狼

คือทั้งสามคำ มันแสดงความหมายของ การเชื่อมต่อ/การมีความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง ทั้งหมดเลย แต่เวลาที่เราพูดถึง ชนิดของคำ (Part of Speech/品詞) เนี่ย มันจะต่างกัน ซึ่งคุณอัษฎายุทธก็ได้สรุปไว้ให้เราแล้ว

อะ ไปดูทีละอันกัน

4.1)Preposition/คำบุพบท

Preposition คืออะไร

ก็คือ คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง ในที่นี้ก็คือ cry กับ moon

ซึ่งในตัวภาษาไทยเนี่ย ก็จะเรียก คำบุพบท

แล้วคำบุพบทคือไร

คุณสันติวัฒน์ เนี่ย ก็บอกไว้ว่ามันคือ “คำที่ใช้นำหน้านาม สรรพนาม กริยาสภาวมาลา เพื่อบอกตำแหน่ง หน้าที่ และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค (ระหว่างคำหน้ากับคำหลัง ประโยคหน้า กับ ประโยคหลัง)”

ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงร้อง กับ จันทร์

เออ ก็ตรงตัวดี ไม่เห็นมีอะไร

คือก็อย่างตารางเปรียบเทียบชนิดของคำที่นำเสนอไปข้างบนอะ จะเห็นว่าคำบุพบทเนี่ย มันเทียบทาบได้ตรงกับ preposition พอดี

ซึ่งมันเป็นเพราะว่า คือตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เนี่ย ตะวันตกเขาศึกษาไวยากรณ์กัน แล้วหลายๆประเทศก็ได้รับอิทธิพลที่ว่ามา เรียกความรู้ตรงนี้ว่า ไวยากรณ์ดั้งเดิม (Traditional Grammar)

ซึ่งไทยเราก็ได้อิทธิพลเขามา ถึงเกิดเป็นหนังสือ หลักภาษาไทย ของพระยาอุปกิตศิลปสาร

หนังสือจะสลายคามือข้าน้อยไหม

แต่ยัยไวยากรณ์ดั้งเดิมเนี่ย จะถูกวิจารณ์ว่า เอาแนวคิดของฝรั่งไปครอบภาษาอื่นๆหมด ไม่ได้ดูเล้ยยว่าแต่ละภาษาเขาก็มีลักษณะเด่นของเขา

ดังนั้นเนี่ย ภาษาบางภาษาเขาก็จะมีเรื่องของการแบ่งชนิดของคำของเขาเอง พี่สาวญปก็ใช่

เพราะงั้นเงี้ย ถึงจะมาเทียบประโยคกันจะๆแบบนี้เนี่ย ก็ไม่ได้แปลว่า 「に」จะถือว่าเป็น preposition/คำบุพบทหรอกนะ

อ้าว แล้วเป็นไรอะ

4.2)助詞 (คำช่วย)

อะไรคือคำช่วย

คือยัยคำช่วยเนี่ย จะวางไว้หลังคำต่างๆในประโยค เพื่อบอกฟังก์ชั่นอะไรบางอย่าง เช่น

払います

ก็คือจะบอกว่า 私 เนี่ย เป็นประธานของประโยค

เออแต่ที่นี้เนี่ยยัยคำช่วยก็มีหลายประเภทมาก ได้แก่

格助詞 (คำช่วยแสดงการก)  連体助詞 (คำช่วยแสดงส่วนขยาย)取立助詞 (คำช่วยเน้นความ)  
係助詞 (คำช่วยแสดงหัวเรื่อง)  副助詞 (คำช่วยเสริมปริบท)  並立助詞 (คำช่วยเรียงคำ)  
接続助詞 (คำช่วยสันธาน)  終助詞 (คำช่วยท้ายประโยค)  間投助詞 (คำช่วยทิ้งท่วง)  
複合助詞 (คำช่วยประสม)  準用助詞 (คำกึ่งคำช่วย)   

ซึ่งเจ้า ニ เนี่ย ก็เป็นคำช่วยแสดงการก (อ่านว่า กา-รก)

เออ แล้วการกคือไร

คุณ Nitta ก็จะสรุปให้เราฟังง่ายๆว่า การกคือ สิ่งที่แสดงความสัมพันธ์กับนาม หรือนามวลี (เออแต่ตรงนี้มันก็ยังเถียงกันอยู่ว่ามันมี limit ไปที่ตรงไหน) แต่ง่ายๆคือ มันเน้นแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในประโยค

ถ้าในที่นี้ ก็แสดงความสัมพันธ์ของ 月 กับ ほえる

เออ สรุปสิ่งที่จจจะบอกก็คือ เอาง่ายๆ ตัว preposition/คำบุพบทเนี่ย มันจะพูดถึงคำเชื่อมที่แสดงความสัมพันธ์ของ constituent ในประโยค แต่ に เนี่ย ไม่ถือว่าเป็น preposition ใดๆทั้งนั้น เพราะภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะของตนเองที่เฉพาะ จึงไม่ยึดโยงตัวเองกับ traditional grammar นางคือคำช่วย ได้ยินไหมจ้ะ ฉันคือคำช่วยๆๆๆๆๆๆๆ

แต่ถ้าต้องแบ่งประเภทเนี่ย ก็จะเห็นว่ามันจะจัดเป็น คำช่วยแสดงการก ซึ่งยัยการกเนี่ยคือสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในประโยคเหมือนกัน

ดังนั้นก็เลยเห็นได้ว่า แม้ชนิดของคำจะต่าง (preposition/คำบุพบท VS 助詞) แต่ลักษณะของความหมายก็จะวนเวียนอยู่กับคำที่แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในประโยค

.

5)สรุป

สรุปได้ว่า เพลงนี้ก็เป็นเพลงอีกเพลงหนึ่งที่แปลออกมาได้โอเค อาจจะมีพลาดบ้างไรบ้างทั้งไทยทั้งญปแต่เข้าใจว่าก็ยากอยู่ ในเรียนรู้เทคนิคการแปลเพลง Particularization กับ Generalization ในส่วนของไวยากรณ์อาจไม่ได้เจาะลึกในแง่ของวิธีใช้ แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงรากฐานที่สำคัญว่า แม้ความหมายจะเหมือนกัน แต่ในเชิงไวยากรณ์ถือว่าเป็นคำคนละชนิด คือไทยและอังกฤษ(ที่ตำราเดียวกัน)คือ preposition/คำบุพบท แต่ภาษาญี่ปุ่นคือ 格助詞 ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่เราต้อง aware ในการศึกษาภาษาญี่ปุ่นนะพี่สาว

ก่อนจากกัน ขายของเช่นเคย

คือเพลงนี้เนี่ย แน่นอนว่าคือ movie version แต่ก็จะมี pop version เช่นกันที่ร้องโดย Tori Kelly ซึ่งเพราะมาก ไปฟังได้เลยจ้ะ

สำหรับวันนี้ ลาไปก่อน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). องค์ประกอบของความหมายในคำศัพท์. ใน ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). การแปลความเฉพาะตัวทางวัฒนธรรมเชิงวัตถุ. ใน ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล : ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 85-87

โศรยา วิมลสถิตพงษ์. (2558). การศึกษาภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.


หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


Nova Southeastern University. Prepositions. Retrieved from https://www.nova.edu/tutoring-testing/study-resources/forms/prepositions.pdf

สันติวัฒน์ จันทร์ใด. ประเภทของคำ. สืบค้นจาก
https://curadio.chula.ac.th/Images/Class-Onair/th/2018/2019-03-04-2542-d468118.pdf

Nitta Yoshio. Case in Japanese. Retrieved from http://www.nkg.or.jp/wp/wp-content/uploads/2018/04/97_caseinjapanese.pdf


อัษฎายุทธ ชูศรี. ประเด็นที่ ๔ ระบบหน่วยคำและชนิดของคำในภาษาญี่ปุ่น. ใน แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

โลกคือละครทุกคนต้องแสดงทุกคนทำไป

สวัสดีจ้ะทุกท่าน โอ เจ้าหงิงตรากตรำพร่ำทำงานราชการ บำบัดทุกข์บำรุงสุข ดูแลมวลมหาประชาชน ให้ประชาชนรอดพ้นภัยปลอดจากไข้หวัดCOVID 19

ศัตรูตัวร้าย ยัยโคขวิด

อย่างไรก็ดี วันนี้เจ้าหงิงกลับมาอีกครั้งกับบทเพลงแสนหวาน

ใครไม่มิน จัสมิน!

ในเพลง A Whole New World จากเรื่อง Aladdin จ้าแม่จ๋าาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

พี่มองเห็นหนูเหรอ จีนี่ ไม่ได้กล่าว

สารบัญจ้ะ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

งั้นไปกันเลยยยยยยยย

.

.

.

1)เนื้อเพลง

1.1)เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษhttps://www.youtube.com/watch?v=EXTLJmYsaUQ

1.2)เวอร์ชั่นภาษาไทย https://www.youtube.com/watch?v=sZJ6t7TPmos&t=65s

1.3)เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่น https://www.youtube.com/watch?v=Z8fmrfZErmc

[Aladdin]
I can show you the world
Shining, shimmering, splendid
Tell me, princess,
now when did you last let your heart decide?
I can open your eyes
Take you wonder by wonder
Over, sideways and under
On a magic carpet ride
A whole new world
A new fantastic point of view
No one to tell us, “no”
Or where to go
Or say we’re only dreaming

[Jasmine (and Aladdin)]
A whole new world
A dazzling place I never knew
But when I’m way up here
It’s crystal clear
That now I’m in a whole new world with you
(Now I’m in a whole new world with you)

[Jasmine]
Unbelievable sights
Indescribable feeling
Soaring, tumbling, freewheeling
Through an endless diamond sky

[Jasmine (and Aladdin)]
A whole new world
(Don’t you dare close your eyes)
A hundred thousand things to see
(Hold your breath; it gets better)
I’m like a shooting star
I’ve come so far
I can’t go back to where I used to be

[Aladdin (and Jasmine)]
A whole new world
(Every turn, a surprise)
With new horizons to pursue
(Every moment, red-letter)

[Together]
I’ll chase them anywhere
There’s time to spare
Let me share this whole new world with you

[Aladdin (and Jasmine)]
A whole new world
(A whole new world)
That’s where we’ll be
(That’s where we’ll be)
A thrilling chase
(A wondrous place)

[Together]
For you and me
[อะลาดิน]
 เธอจะพบโลกใบใหม่
ชวนนิ่งชมวิเศษสวยงาม
นานใช่ไหมไม่เคยได้ทำอย่างใจปรารถนาสักอย่าง
เธอจะได้ชมทุกอย่าง
เธอจะชอบใจ ประทับใจ
บินให้สูงหรือต่ำใกล้ดิน
ขี่พรมเหาะไปไกลสุดฟ้า
โลกใหม่สวยงาม
ตื่นตาเย้ายวนแปลกไม่เคยเจอ
จะไปสุดฟ้ากว้างไกล
ไม่ฟังเสียงใคร
จะเหินลอยไปดุจความฝัน  

[จัสมิน (อะลาดิน)]
โลกใหม่สวยงาม
ไม่เคยรู้เลยว่าสวยเพียงใด
แต่หากวันนี้ได้ชม
สุขสมฤทัย
และได้มาอยู่ในโลกใบใหม่กับเธอ
(อยู่ในอ้อมกอดฉันกับโลกใบใหม่)  

[จัสมิน]
งามหยาดเยิ้มเกินจะเอ่ย
เกินเฉลยเพียงแต่ถ้อยคำ
ลอยถลาบินแผ่วพลิ้วไป
ดาวน้อยใหญ่จับปลายขอบฟ้า  

[จัสมิน (อะลาดิน)]
โลกใหม่สวยงาม
(ลืมดวงตาของเธอมั่น)
อีกหมื่นร้อยพันอย่างน่าเชยชม
(หายใจลึกเธอจะไม่กลัว)
อย่างกับเป็นเหมือนดาวตก
เหาะข้ามไปไกล
ก่อนที่จะกลับสู่โลกที่เคยอยู่มา  

[อะลาดิน (จัสมิน)]
โลกใหม่สวยงาม
(มองทางใดดูแปลกใหม่)
สุดขอบฟ้าไกลจากนั้นตรงไป
(ทุกนาทีดูเปี่ยมสำราญ)  

[พร้อมกัน]
เวลาผ่านพ้นตามไปสุดผืนดินใด
โลกใบใหม่เราสองคนอยู่ด้วยกัน  

[อะลาดิน (จัสมิน)]
โลกใหม่สวยงาม
(โลกใหม่สวยงาม)
อยู่เคียงสองเรา
(อยู่เคียงสองเรา)
สุขกันสองคน
(สุดขอบฟ้าไกล)  

[พร้อมกัน]
กับฉันและเธอ
「アラジン」
見せてあげよう 
輝く世界
プリンセス
自由の花をほら
目を開いて
この広い世界を
魔法のじゅうたんに身をまかせ
大空
雲は美しく
誰も僕ら
引きとめ
しばりはしない  

「ジャスミン(アラジン)」
大空
目が眩むけれど
ときめく胸
初めて
あなた見せてくれたの
(素晴らしい世界を)  

「ジャスミン」
素敵すぎて
信じられない
きらめく星は
ダイヤモンドね  

「ジャスミン(アラジン)」
A Whole New World
(目を開いて)
初めての世界
(怖がらないで)
流れ星は不思議な
夢に満ちているのね  

「アラジン(ジャスミン)」
素敵な
(星の海を)
新しい世界
(どうぞこのまま)  

「一緒に」
二人きりで 明日を
一緒に見つめよう  

「アラジン(ジャスミン)」
このまま
(二人が)
素敵な
(世界を)
見つめて
(あなたと)

「一緒に」
いつまでも

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

แปลสวยแปลดี แปลได้ไม่ติด ชอบมาก แล้วแบบ คือใช้คำได้มีความกาพย์กลอน ความววรณศิลป์มากอะ คือแบบ เห้ยไม่ใช่แค่คุณรู้ภาษาไทยเบสิคแล้วจะสรรสร้างคำได้สวยเบอร์นี้นะ มันต้องชำนาญภาษาไทยมากม้ากกกกกจริงๆ จจเองยังทำไม่ได้เลย ยอมแล้ว

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

ก็ดี ไม่มีอะไรหวือหวา แต่รู้สึกว่ารอบนี้เขามีลักษณะ ใช้คำน้อยแต่กินความมาก คือแบบ คำเดียว รู้เรื่อง แบบ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษที่ใช้ adj ที่สามสี่ห้าตัว ญปมาสองสามตัวจบ เงี้ย เออก็รู้สึกว่า ค่อนข้างสรุปรวบรัดคำได้ดีเพราะความหมายก็ยังครบ ถือว่าประสบความสำเร็จนะพี่สาว

.

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

Non-linguistic context

กรณีศึกษา 「自由の花をほら」

คืออะไร

คือมันมีประเด็นว่า เนี่ยน้าเวลาเราแปล แล้วมันต้องคิดหาคำแปลเนี่ย มันต้องดูบริบท (context) ประกอบไปด้วย ซึ่งบริบทเนี่ย มันจะมีได้ 2 ประเภท คือ

Linguistic Context ก็คือดูคำที่อยู่ข้างหน้า ข้างหลัง แล้วคิดหาความหมาย แล้วแปล

Non-linguistic Context คือต้องเอาข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจากแค่ตัวบทและตัวภาษา (Extra-textual Information) มาเสริมสร้างเพื่อคิดหาคำแปลสุดปังตามแบบฉบับเจ้าหงิง

ซึ่งจจมองขาดเลยว่า ในเพลงนี้มีจุดหนึ่งที่ใช้ extra-textual information ในการคิดหาคำแปลได้อย่างเจี้ยมจ้อด แล้วสามารถที่จะสร้าง gimmick ใหม่ให้กับเพลงในลักษะที่ต้นฉบับเองก็ทำไม่ได้

นั่นคือ 「自由の花をほら」

ลองเทียบกันเลย

Tell me, princess,
now when did you last let your heart decide?
นานใช่ไหมไม่เคยได้ทำอย่างใจปรารถนาสักอย่าง  プリンセス
自由の花をほら

คือตัวภาษาอังกฤษเนี่ย จะถามว่า “ครั้งสุดท้ายที่เธอได้ทำตามใจตัวเองคือเมื่อไหร่กัน” ซึ่งเนี่ย เป็น Rhetoric Question อย่างที่เคยพูดไปแล้วในบล็อกสงสารแต่แม่ปลาบู่คือคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ ซึ่งเรารู้ตรงนี้ได้เพราะเรารู้เนื้อเรื่อง

แล้วเนื้อเรื่องมันว่าไง

คือไม่มีไร คือยัยเจ้าหงิงจัสมินเนี่ยโดนกักบริเวณให้อยู่แต่ในวังไง แล้วยัยอะลาดินเนี่ยก็ขี่พรมมาวิเศษมาพานางหนีเที่ยวตอนกลางคืน แล้วก็แซวยัยจัสว่าเออเธอเนี่ย ไม่มีอิสระล่ะสิ งี้

ซึ่งนักแปลภาษาไทยสามารถที่จะใช้บริบทของเรื่องมาผสานในการตีความคำถามได้ จึงสามารถแปลออกมาได้ถูกต้องว่า นานใช่ไหมไม่เคยได้ทำอย่างใจปรารถนาสักอย่าง งี้

ทว่า ในส่วนของภาษาญี่ปุ่น กลับบอกว่า “เอ้า ดอกไม้แห่งอิสรภาพ”

ดอกไม้ไรจ้ะ???

คือถ้าคุณผู้ชมดูฉากที่อะลาดินพูดประโยคนี้ดีๆนะ 0.42

มันคือฉากที่อะลาดินให้พรมวิเศษเด็ดดอกไม้ให้จัสมินพอดี!!!

เห้ยแล้วคือแบบ ยัยญี่ปุ่นคือไปช่างสังเกตขนาดนั้นได้ยังไงว่าฉากที่ภาษาอังกฤษจะร้องว่า Tell me, princess, now when did you last let your heart decide? คือฉากเด็ดดอกไม้ให้จัสพอดี แล้วก็แบบ ชึบ ฉวยเอาโมเม้นนั้นมาเล่นกับคำแปลเลยว่า เอ้า ดอกไม้แห่งอิสระ คือเลิศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ

แล้วแบบ มันขับให้ความเป็นดอกไม้พิเศษไปอีก เพราะดอกไม้จะถูกใช้เป็นสัญญะของความรักเชิงชู้สาวเยอะมาก แล้วมันยังมีความหมายของการเป็นของขวัญ ดังนั้นอะลาดินที่มาพาจัสมินไปสู่อิสรภาพคือการที่ชายหนุ่มรูปงามมอบของขวัญให้กับเจ้าหงิงที่เขารัก

สุดปังงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

คือ คุณไม่ใช่แค่เอาบริบทของเนื้อเรื่องมาใช้ได้ แต่คุณสามารถเอาบริบทของฉากในภาพยนตร์มาด้วยได้ แล้วแบบ มันทำให้ฉากที่ตอนแรกธรรมดาๆในเวอร์ชั่นต้นฉบับ กลายเป็นฉากที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจขึ้นมา มีความ もののあわれ มากกกกกกกกกกกก

คือผู้แปลเนี่ย มีความสามารถในการวิเคราะห์ (analysis) และสังเคราะห์ (synthesize) จนสามารถที่จะใช้ข้อมูลบริบทที่อยู่นอกเหนือจากตัวภาษา มาถ่ายทอดบทแปลโดยมีความเกาะเกี่ยวความ (coherence) ที่เลิศมากได้ กราบแม่แบบเบญจางคประดิษฐ์

.

3)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

เหตุกรรตุวาจก (Causative Voice)

กรณีศึกษา「見せてあげよう」「目を開いて」

I can show you the world
(ฉัน)
เธอจะพบโลกใบใหม่
(เธอ)
見せてあげよう 
(ฉัน)
I can open your eyes
(ฉัน)
เธอจะได้ชมทุกอย่าง
(เธอ)
目を開いて
(เธอ)

คือมันเริ่มจากความสงสัยว่า ภาษาอังกฤษเนี่ยพูดว่า “ฉัน” จะให้เธอเห็นโลก “ฉัน” จะเบิกตาเธอ แต่พอแปลเป็นไทยและญี่ปุ่น มันกลับมีการเปลี่ยนประธาน/มุมมองเป็น “เธอ” แทน เลยงองมาก

เออนั่นแหละ เลยอยากรู้ว่า ทำไมต้องทำอย่างนั้น ทำไมถึงมีการเปลี่ยนมุม ทำไมแปลไปเลยไม่ได้ สรยุทธมาด้วยเหรอ

เลยไปลองค้นดู ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก เอาเป็นว่า ลองไขปริศนาลับขุมสมบัติเกาะร้างไปทีละภาษาละกันจ้ะ

3.1)ภาษาไทย

โครงสร้างกริยาเรียง (Serial Verb Construction, SVC)

คือจจลองแปลเองดูว่า “ฉันจะทำให้เธอได้เห็น…” อย่างเงี้ย มันสามารถพูดได้ไหมในภาษาไทย

ซึ่งก็คิดว่าพูดได้นะ555555555555

เออแต่เพื่อความชัวร์ ก็ลองไปค้นมา จนพบว่า วิธีการพูดแบบนี้เนี่ย เขาเรียก “โครงสร้างกริยาเรียง” (SVC)

เออ แล้ว SVC มันคือไร

คุณ Timotej (2015) ก็จะบอกไว้ว่า กริยาเรียงคือการเอากริยามาต่อๆกัน โดยแม้ว่าโดยปกติแล้ว 1 กริยา = 1 action ก็ตามเนี่ย แต่ใน SVC คือคุณมีกริยาเป็นกี่ตัวก็ช่างเหอะ แต่ action ก็จะยังมีแค่อันเดียว เพียงแต่ว่า action นั้นน่ะ มันจะมีความซับซ้อนที่มากขึ้น

ซึ่งสำหรับภาษาไทย คุณชลธิชา (2548) ได้บอกเราว่า กริยาเรียงของภาษาไทยมีถึง 8 กลุ่ม ได้แก่

ซึ่งสิ่งที่จะใช้เนี่ย คือ SVC ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ให้” ซึ่งก็จะมีการอธิบายว่า มันกฎเหล็กคือ ประธานและกรรมในประโยค ต้องเป็นสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไม่งั้นจะผิด

เช่น

นวลทาสีให้บ้าน เงี้ย คือไม่ได้

แต่ว่าในเพลงของเรา ทั้งจัสมินและอะลาดินเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งคู่ แปลว่าสามารถใช้อย่างถูกไวยากรณ์นะ!

ดังนั้น ขอสรุปเลยว่า สำหรับภาษาไทย ที่ไม่แปลแบบ causative เพราะว่า คำน่าจะยาวเกินโควต้าน่ะ เลยต้องบิด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการแปลเพลงอะเนาะ

3.2)ภาษาญี่ปุ่น

ทีนี้ในส่วนของพี่สาวญี่ปุ่น พอไปศึกษาเรื่องของการใช้เหตุกรรตุวาจก (使役態) เนี่ย ก็จะมีกฎที่น่าสนใจหลายๆอย่าง

อย่างแรกเลย คือคุณอัษฎายุทธบอกเราว่า ภาษาญี่ปุ่นเนี่ย มันจะผันเป็นรูปให้กระทำได้ถูกมะ เช่น

見る>見させる

เออแต่ทีนี้เนี่ย มันจะมีบางคำที่แบบ มันจะมีคำคู่ของมันอยู่แล้ว เช่น

見る>見せる

เออแล้วทีนี้อะ ถ้ามันมีคำคู่ของมันอยู่แล้ว คนญปก็จะนิยมใช้คำคู่นั้นแหละ ไม่ผันให้เหนื่อยหรอก

เพราะงั้น「見せてあげよう」เคลียร์!

เออแล้วทำไม「目を開いて」ถึงไม่แปลว่า「目を開かせる」ล่ะ

ก็ไปค้นมาจ้ะ

ก็คือคุณヘレナเนี่ย ก็จะบอกเราว่า 使役 มันจะมีหลายความหมายดังนี้

ซึ่งในการที่อะลาดินบอกกับจัสจัสว่า จะเปิดโลกเปิดตาเธอ คือมันก็มีความตั้งใจถูกมะ เออแต่มันก็ไม่ได้เป็นเซนส์ของความบังคับ จูงใจ ออกคำสั่ง หรืออนุญาตอะไรเลย คือง่ายๆว่า ในสถานการณ์นี้ถ้าเราพูดว่า「目を開かせる」คือความหมายมันจะเพี้ยนไปจากต้นฉบับ

คือมันจะฟังเหมือนกับว่า อะลาดินเป็นโรคจิตที่แบบ “ฮี่ฮี่ เปิดตาเธอสิจ้ะแม่สาวน้อย ถ้าเธอไม่เปิดเดี๋ยวฉันจะทำให้เปิดเอง” ไรงี้ไปเลย น่ากัวมาก นี่จจวิเคราะห์นะ

นั่นแหละ เอาเป็นว่า สามารถสรุปได้ว่า ภาษาญี่ปุ่นที่ไม่แปลแบบ 使役 เพราะว่า มันผิด มันไม่ได้ ความหมายมันจะเพี้ยน ไม่ทำกัน เงี้ยอะจ้ะ

.

5)สรุป

สรุปได้ว่า A Whole New World ก็เป็นอีกหนึ่งเพลงที่แปลได้ดีทีเดียว แบบ มงลงไปเลย เป็นเพลงร้องคู่ด้วยเออเริส จะเห็นว่ามีมิติของการนำ extra-textual information มาเสริมสร้างการแปลได้อย่างน่าประทับใจ และได้เรียนรู้การแปล causative voice ได้พูดถึง SVC ในภาษาไทยและ 使役態 ของภาษาญี่ปุ่น ก็จะเห็นว่าด้วยลักษณะทางไวยากรณ์ที่ต่างทำให้ต้องเปลี่ยนการแปลต่างๆกันไป

ก่อนจากกัน จจขอขายของ(อีกแล้ว)

คืออย่างที่บอกว่าเพลงดิสนีย์เนี่ย มันจะมีทั้ง movie version และ pop version

ซึ่ง pop version คืออันนี้จ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=PmvT7B3u7II

ละทีนี้ปีก่อน (2019) มันมีการนำ Aladdin มาทำเป็น Live Action (写実版)

ขอพรวิเศษได้เลยจ้ะ

และแน่นอนว่า A Whole New World ก็ถูกร้องใหม่

เวออิ้งนี่จ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=eitDnP0_83k

เวอไทยนี่จ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=oqss15Xa3ho

เวอญี่นี่จ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=j2Q9UNfio-c

ทีนี้ในส่วนของ pop version ก็ถูกร้องใหม่เหมือนกัน

นี่จ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=I7mI8zoSC24

ใดๆก็ตาม ทีเด็ดของ 2019 version คือมีเพลงใหม่ ชื่อ Speechless

ชอบม้ากกกกกกกกกกกกก แต่ไม่ได้ยกมาแปล เพราะตัว Japanese movie version ของเพลงนี้หาตัวเต็มไม่มี เลยทำไม่ได้TOT

เอาเป็นว่า เอาลิงค์ไป

เวออิ้ง https://www.youtube.com/watch?v=mw5VIEIvuMI

เวอญี่ https://www.youtube.com/watch?v=f1A1qFbmTsw

เวอไทย https://www.youtube.com/watch?v=pS8fOtn9Yoo

รู้สึกวันนี้มีเพลงแถมเยอะ555555

เอาเป็นว่า ช่วงนี้โควิด19เครียดๆ ก็นั่งฟังเพลงไปนะจ้ะ เพราะทุกอันเลยรับรองได้

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรสา สุขก้อน. (2557). การจำแนกประเภทโครงสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Timotej Sefcovic. (2015). Serial Verb Construction. Palacky University Olomouc.

ヘレナ・シュタインバフ「日本語の使役表現について」Retrieved from https://ir.lib.hiroshima-u.ac.jp/files/public/4/44666/201801301319145191/ReportJTP_32_19.pdf

อัษฎายุทธ ชูศรี. ประเด็นที่ ๕  ระบบประโยคในภาษาญี่ปุ่น. แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

ดอกฟ้ากับหมาวัด

สวัสดีจ้ะมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน

วันนี้จจไม่ได้มาคนเดียว

แต่!

หนูชื่อแจงมากับนุ่นแล้วก็มากับโบว์!

เบื่อๆเหงาๆหาฟังได้จ้า

วันนี้จจมาแบบสดใสเลย มีพลังมาก เพราะว่า ทรงได้เสวยอาหารอิ่ม กินนอนหลับ เอเนอจี้มาเต็ม

เอาเป็นว่า ไม่พูดพร่ำทำเพลง

ชั่ย!

วันนี้มาในเพลง Beauty and the Beast จากเรื่อง Beauty and the Beast จ้าแม่มมมมมมมมมมมม

อยากขึ้นยานแม่ ต้อง wear Poem จ้ะ

เอาล่ะ ไปเลยสารบัญ

1)เนื้อเพลง

2)ความประทับใจโดยรวม

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

5)สรุป

.

.

.

1)เนื้อเพลง

เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ>>>https://www.youtube.com/watch?v=uQ0ODCMC6xs&feature=youtu.be

เวอร์ชั่นภาษาไทย>>>
https://www.youtube.com/watch?v=6ua6iJbKTvk&feature=share

เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่น>>>
https://www.youtube.com/watch?v=ASQH7PimpRc&feature=youtu.be

Tale as old as time
True as it can be
Barely even friends
Then somebody bends
Unexpectedly

Just a little change
Small, to say the least
Both a little scared
Neither one prepared
Beauty and the Beast

Ever just the same
Ever a surprise
Ever as before
Ever just as sure
As the sun will rise

Tale as old as time
Tune as old as song
Bittersweet and strange
Finding you can change
Learning you were wrong

Certain as the sun
Rising in the east
Tale as old as time
Song as old as rhyme
Beauty and the Beast

Tale as old as time
Song as old as rhyme
Beauty and the Beast
จากตำนานครั้งเก่า
เปรียบเรื่องราวทั้งสอง
ก่อนไม่เคยเป็นมิตร
แล้วคนนึงคิดลอง
หันมองกันด้วยใจ

เริ่มจากเพียงนิดหน่อย
ค่อยๆ เติมลงไป
ดูต่างคนไม่กล้า
เกินกว่าใจฝันใฝ่
อสูรและโฉมงาม
 
ไม่ว่ากี่สมัย
เนิ่นนานไปก็ตาม
แปลกที่ยังจริงแท้
และแน่นอนทุกอย่าง
ดุจดังแสงตะวัน
 
จากตำนานครั้งเก่า
เล่าเป็นเพลงชื่นบาน
อาจจะเคยผิดพลั้ง
หันหน้ามาฟังกัน
สานสัมพันธ์ยืนยาว

แน่นอนดังแสงทอง
ส่องประกายยามเช้า
คือเรื่องในนิทาน
เพลงขับขานครั้งเก่า
อสูรและโฉมงาม

คือเรื่องในนิทาน
เพลงขับขานครั้งเก่า
อสูรและโฉมงาม
素晴らしい
物語
おずおずと
触れ合うわ
指と指

ほんの少し
少しずつ
優しさが
開いてく
愛の扉

真実は
ただ一つ
幸せは
隠せない
誰の目にも

懐かしい
歌のように
凍りつく
季節さえ
変えながら

ほんの少し
少しずつ
優しさが
開いてく
愛の扉

優しさが
開いてく
愛の扉

.

2)ความประทับใจโดยรวม

2.1)ภาษาไทย

ประทับใจอีกแล้ว ชมล้านรอบก็ไม่พอ ชมจนเบื่อ แปลอะไรดีขนาดนี้ อยากเชิญให้มาเป็นราชครูคู่กับพระอาจารย์ KK และพระอาจารย์ YN คือขนลุกมาก มันสวยมันดี โอ้ยปังมาก

2.2)ภาษาญี่ปุ่น

คือภาษาสวยไหม คือส่วนตัวเฉยๆ55555555555 ก็เป็นกะเหรี่ยงงะไม่ใช่เจ้าของภาษา ตัดสินไม่ได้หรอก แต่ สิ่งหนึ่งเลยนะ คือเนื้อเพลงมันสร้างปฏิกิริยาตอบรับจากจจได้ดีมาก คือฟังแล้วอมยิ้ม กรุ้มกริ่ม แบบ ฮั่นแน่  คือเนื้อเพลงมันแบบ โอ้ยความรักอบอวลอะไรขนาดนั้น คือชอบมากจริงๆ

.

3)ประเด็นทางการแปลที่น่าสนใจ

Creative Transposition (การสลับจัดวางอย่างสร้างสรรค์)

สิ่งใดคือ creative transposition???

มันคือ เป็นสิ่งที่มหาปราชญ์ Roman Jakobson ได้อธิบายไว้ตอนที่ท่านกล่าวถึงการแปลว่าเมื่อเรานำ linguistic aspects หรือมุมมองทางภาษาศาสตร์มาเสริมความเข้าใจเรื่องการแปลแล้ว เราจะเห็นได้ว่า การแปลเนี่ยมันยากกกกกกกกก

ซึ่ง มหาปราชญ์ได้เสนอว่า ในการแปลที่ยากมากบอกเลย คือการแปลกลอน (Poetry)

คือมันจะแปลตรงๆไม่ได้เลย ต้องแบบ รื้อถอนสร้างประกอบใหม่หมด ดังนั้น creative transposition จึงเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราแปลกลอนได้

ซึ่งจจมีความเห็นว่า เพลงนี้ เป็นไปตามที่มหาปราชญ์กล่าวทุกประการ!

คือต้องเล่าว่า ถ้าสังเกตดีๆ เพลงนี้จะมีโครงสร้างที่ค่อนข้างมีแบบแผนแบบกลอน คือเป็นงี้

คือมีแบบแผนที่ชัดมาก มี 6 บท บทสุดท้ายมี 3 วรรค แต่ก่อนหน้านั้นคือมี 5 วรรคในทุกๆบท แล้วใน 1 วรรคจะมีจังหวะ 5 จังหวะทุกวรรค คือสวยมากจริงๆ โอ้ยพูดแล้วขนลุก

คือปกติเนี่ย การแปลเพลงมันก็ยากอยู่แล้วด้วยข้อจำกัดทางจำนวนจังหวะเอยไรเอย แต่กับเพลงนี้มันมีฉันทลักษณ์ที่ชัดมาก เพราะฉะนั้นมันจะยากเป็นพิเศษ

ซึ่งมหาปราชญ์จะอธิบายไว้ว่า creative transposition จะเกิดได้ 3 ระดับ

Intralingual Transposition (Rewording) ไม่ได้เปลี่ยนภาษา แค่เปลี่ยนคำ/วิธีการพูด

Interlingual Transposition (Translation) เปลี่ยนจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง

Intersemiotic Transposition (Transmutation) เปลี่ยนสัญญาณของอวัจนภาษา

ซึ่งในเพลงนี้ก็คือ interlingual transposition อะจ้ะ ต้องยอมแหละว่าคนแปลเก่งมากจริงๆที่สามารถเปลี่ยนภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยการครีเอทใหม่เกือบหมดเลย โดยที่ต้องรักษาธีมหลักของเพลงไว้คือ พัฒนาการทางความสัมพันธ์ของคนสองคนจากไม่อะไร เป็นมีอะไรขึ้นมาหน่อย งี้ เริสมากกกกก ชอบบบบบบบบ

ลองดูตัวอย่างหน่อยแมะ

Ever just the same
Ever a surprise
Ever as before
Ever just as sure
As the sun will rise
ไม่ว่ากี่สมัย
เนิ่นนานไปก็ตาม
แปลกที่ยังจริงแท้
และแน่นอนทุกอย่าง
ดุจดังแสงตะวัน
懐かしい
歌のように
凍りつく
季節さえ
変えながら

คือจะเห็นเลยว่า สิ่งเดียวที่เขามีร่วมกัน คือฟีลลิ่งงะ แบบ ฟีลของความอยู่ยั้งยืนยงตรงนั้น แต่ในส่วนของคำ ประโยค อุปมาอุปไมย ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยยยยยย คืองานแปลแบบสร้างสรรค์ที่แท้ ต้องให้

.

4)ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

Aspect (หน่วยการณ์ลักษณะ)

กรณีศึกษา「開いてく」

คือต้องย้ำว่า เพลงนี้เนี่ย เขาเปลี่ยนเนื้อหาในตอนแปลเกือบหมดเลย จึงเปรียบเทียบ contrastive linguistics ผ่านงานแปลได้ลำบากแสนเข็ญ

แต่ไม่ต้องกังวล จจไม่มีทางหมดมุข

ในรอบนี้จจเลือกพูดเรื่อง 開いてくซึ่งปรากฎในเนื้อเพลงเวอร์ชั่นญี่ปุ่น แต่ไม่มีในเวอร์ชั่นอังกฤษกับไทยนะจ้ะ ไม่ต้องไปหา มันเป็นสิ่งที่ผู้แปลญี่ปุ่นสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง

แต่ถามว่าทำไมต้องยกคำนี้มาพูด มันวิเศษยังไง

คือต้องบอกว่า การใช้กริยา ~ていく มันเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า Aspect ซึ่งเป็นสิ่งที่มีปรากฎร่วมในทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่มันก็จะมีความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่ง ~ていくจะเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาญี่ปุ่นเลย

ทีนี้ เอางี้ก่อน อะไรคือ aspect

มันคือ สิ่งที่จะบอกสภาพหรือลักษณะของเหตุการณ์

ซึ่งสิ่ง ~ていく เนี่ย มันบอกสภาพอะไร

คือมันบอกว่า เหตุการณ์เนี้ย จะเกิดและดำเนินต่อไปในอนาคต เช่น อย่างในเพลงนี้คือ

ほんの少し
少しずつ
優しさが
開いてく
愛の扉

คืออย่างที่บอกว่าธีมหลักของเพลงนี้คือพัฒนาการของความสัมพันธ์ และในท่อนนี้เขาก็บอกว่า ความใจดือจะเปิดประตูแห่งรักไปทีละนิด(และเปิดต่อไปเรื่อยๆในอนาคต)

โอ้ยไอ่ต้าวบ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ช่ายนั่นแหละ นั่นก็คือความหมายของ ~ていく

ภาพปลากรอบจาก http://learn-the-basics-of-japanese.blogspot.com/p/s12-1-1-2-3-b-o-d-come-4-10-5-6-7-8-9.html

ทีนี้ลองไป aspect ของภาษาอื่นหน่อยไหม?

4.1)ภาษาไทย

คุณอิงอร สุพันธุ์วณิช (2516) เนี่ยบอกไว้ว่า aspect ของภาษาไทยมันจะแฝงอยู่กับกาล (Tense) แบบนี้

ถ้าสมมติลองถามว่า 開いてくมันจะใกล้เคียงอันไหนที่สุดของภาษาไทย จจว่าน่าจะเป็น อนาคตกาลที่กำลังดำเนินอยู่

คือไร

คือ aspect ที่ว่า เหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น และจะดำเนินต่อไป เช่น

ปีหน้าน้องจะเรียนอยู่ที่โรงเรียนนี้

ซึ่งจริงๆก็ไม่ได้ตรงเป๊ะ ฝืนมาก แต่ก็ใกล้สุดแล้วแหละ5555555555

4.2)ภาษาอังกฤษ

คุณ Richard (2019) บอกเราว่า aspect ของภาษาอังกฤษมีสองอย่างคือ

Perfect Aspect คือ ลักษณะของการเกิดในอดีต แต่ดำเนินต่อไปเรื่อยๆมาจนถึงปัจจุบัน

Progressive Aspect คือลักษณะของเหตุการณ์ที่ดำเนินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ซึ่งยัย aspect เนี่ย ชีก็จะไปเกาะแกะกับ tense เช่น

Perfect Aspect,
Present Tense
Progressive Aspect, Present Tense
“History has remembered the kings and warriors, because they destroyed; art has remembered the people, because they created.”“She’s loyal and is trying to wear her thin flippy hair in cornrows.”

ต่างๆนานาว่ากันไป

ทีนี้ถ้าถามอีกว่า 開いてくจะไปใกล้กับอันไหนของภาษาอังกฤษสุด

อืมมมม progressive aspect, future tense ไหมนะ คือจะดำเนินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งในช่วงเวลาของอนาคต น่าจะใกล้สุดแหละ แต่ถามว่าตรงความหมายเป๊ะๆไหม บอกเลยว่าไม่ ถ้าอยากแปลจริงๆต้องเป็นการอธิบายแทน

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะไทยหรืออังกฤษ ต่างคนก็มี aspect เป็นของตัวเอง และแม้จะฝืนนนนนนหาอันที่ใกล้กับ開いてく มาได้ มันก็มีความคลาดเคลื่อนกันเยอะมาก เรียกได้ว่า aspect เป็นของลับของหวงของแต่ละภาษาจริงๆ

.

5)สรุป

วันนี้สรุปได้ว่า ก็เป็นอีกหนึ่งเพลงที่แปลได้ปัง พูดเลยว่า แต่งเนื้อร้องกันใหม่เลยทีเดียวกับกลยุทธ์ creative transposition ในส่วนไวยากรณ์ได้เรียนรู้เรื่องของ aspect ที่มีในทุกภาษา แต่ต่างกันไปในรายละเอียด ซึ่งการจะมาแทนกันได้นั้น ยากมากกกกกก

ก่อนจากกัน ขอขายของ

ต้องเล่าว่า เพลงนี้เนี่ย เขามี pop version ด้วยน้า ร้องโดย Celine Dion และ Peabo Bryson เพราะมากกกกกกก

นี่ลิงค์เพลงจ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=pgYEJHJXFB4

แล้วทีนี้ปี 2017 ก็มีการทำหนังเรื่องนี้ในแบบ live action (写実版) ที่นำแสดงโดย Emma Watson! กรีสสสสสสสสสสสส

ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ

แล้วนอกจากนั้นตัวเพลง pop version ก็อัดใหม่โดย Ariana Grande และ John Legend ปังมากกกกกกกกกกกก (อยากไปคอนสองคนนี้จัง TOT)

นี่ลิงค์เพลงจ้ะ https://www.youtube.com/watch?v=axySrE0Kg6k

เอาล่ะ วันนี้ก็รบกวนเวลาของพสกนิกรทุกท่านมามากพอแล้ว วันนี้ก็พอแค่นี้ละกัน

สวัสดี

.

.

.

เอกสารอ้างอิง

Jakobson, Roman. (1959). On Linguistic Aspects of Translation. In Reuben Arthur Brower, On Translation (pp. 232-239). Harvard University Press. 

อิงอร สุพันธุ์วณิช (2516). กาลในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22879 (05/04/2020)

陳湘奉 (2017)「『ていく・てくる』と“去・来”の日中対照研究」『さいたま言語研究』 (1), 59-72。

อัษฎายุทธ ชูศรี. ประเด็นที่ ๕  ระบบประโยคในภาษาญี่ปุ่น. แปดประเด็น ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น.

Richard Nordquist (2019). Definition and Examples of Aspect in English Grammar. Retrieved from https://www.thoughtco.com/what-is-aspect-grammar-1689140 (05/04/2020)

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้